พฤติกรรมการสอนโดยใช้แนวคิดการสอนเชิงรุกของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษานานาชาติ ในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์โดยใช้แนวคิด Active Learning ตามการรับรู้ของนักศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรม การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Active Learning ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษานานาชาติภาคตะวันออกตามการรับรู้ของนักศึกษา เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของนักศึกษา ที่มีเพศ คณะ สาขาวิชา และชั้นปี และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอน Active Learning ตามการรับรู้ของนักศึกษากับอายุ GPAX ของนักศึกษา สรุปผลวิจัยการสอนของอาจารย์โดยใช้แนวคิด Active Learning พบว่าความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านประโยชน์ที่ได้รับด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนสูงสุด, รองลงมาเป็นด้านกระบวนการเรียนการสอน ส่วนด้านสถานที่และโสตทัศนูปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นักศึกษาสาขาการบริหารธุรกิจ กับนักศึกษาคณะอื่น ๆ มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความแตกต่าง ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านประโยชน์ที่ได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนด้านสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 การเปรียบเทียบการรับรู้ของนักศึกษาที่เรียนในคณะต่างกันเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) พบว่า การสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ มีการสอนแบบ Active Learning มากกว่าคณะอื่น ๆ ทุกคณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และพบว่า คณะศึกษาศาสตร์มีการสอน Active learning น้อยกว่า คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษย์ศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 อายุนักศึกษามีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการรับรู้การสอน Active Learning ทั้งรายด้าน และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และพบว่า GPAx มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการสอน Active Learning ด้าน สถานที่ อุปกรณ์ และการวัดประเมินผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01 ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
พงศ์เทพ จิระโร. (2561). หลักการวิจัยทางการศึกษา: Principles of Educational Research (พิมพ์ครั้งที่ 8). ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การศึกษานอกสถานที่และการศึกษานอกสถานที่เสมือนเพื่อการศึกษาเชิงรุก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548, พฤษภาคม-สิงหาคม). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2,(2), หน้า 12-15.
Bonwell, C. C., and Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington, D.C.: School of Education and Human Development, George Washington University.
Fink, L. D. (2003). Creating significant learning experiences: An integrated approach to designing college courses. San Francisco: Jossey Bass.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Matveev, A. V., & Milter, R. G. (2010). An implementation of active learning: assessing the effectiveness of the team infomercial assignment. Innovations in Education and Teaching International, 47(2), 201-203
Rotgan, J. I., & Schmidt, H. G. (2011). The role of teachers in facilitating situational interest in an active-learning classroom. Teaching and Teacher Education, 27(2011), 37-42.