การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดตราด

Main Article Content

สิริมา ใจเที่ยง
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID - 19) และ2) เปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดตราด จำแนกตาม เพศ ขนาดโรงเรียน  ประสบการณ์ในการทำงานโดยที่สภาพปัญหาการจัดการเรียนจำแนกออกเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์ 2) ด้านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้และ 3) ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด จังหวัดตราด ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) การทดสอบรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ (Scheffe)


     ผลการวิจัยพบว่าระดับปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดตราดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี อยู่ในระดับต่ำในภาพรวมและในรายด้าน นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ระดับปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน (ยกเว้นด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้) ไม่แตกต่างกันอย่างใดตามคุณลักษณะของเพศของครูผู้สอน และขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงานของครูผู้สอน

Article Details

How to Cite
ใจเที่ยง ส., งามมีฤทธิ์ ณ., & เจริญกฤตยาวุฒิ ส. (2022). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดตราด. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 6(2), 135–143. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/260637
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 17 มีนาคม). เรื่องให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี : บริษัท คิว แอดเวอร์ ไทซิ่ง จำกัด.

ปัญญา ชูเลิศ. (2563). ชีวิตวิถีใหม่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง: ในวันที่ต้องรับบทบาทครูเฉพาะกิจ. เข้าถึงได้จาก https://www.tpak.or.th/th/article_print/52

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ : มปพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID - 19. มปพ.

สิริพร อินทสนธิ์ (2563). โควิด – 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการ เขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยากรจัดการปริทัศน์, 22, (2), หน้า 203-213.