ผลการเสริมสารสกัดหยาบจากใบมันสำปะหลังในน้ำดื่มต่อสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อ

Main Article Content

ไพฑูรย์ ศรีโพนทัน
ชัชวาล รัตนธรรม
ชญานี จิตรไธสง

บทคัดย่อ

การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเป็นแนวทางหนึ่งในการลดใช้ยาปฏิชีวนะใบมันสำปะหลังมีสารแทนนินในปริมาณมากที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุอาการท้องเสีย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมสารสกัดหยาบจากใบมันสำปะหลังในน้ำดื่มต่อสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อใช้ไก่เนื้อคละเพศอาร์เบอร์ เอเคอร์ อายุ 1 วัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 5 ตัว รวมจำนวน 80 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์กลุ่มทดลองประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 น้ำดื่มผสมยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน 0.30 มิลลิกรัม/ลิตร กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 น้ำดื่มผสมสารสกัดแทนนิน 10, 20 และ 30 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับทำการทดลอง 42 วัน


ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ 1, 2, 3 และ 4 มีปริมาณการกินได้เท่ากับ 3,666.25, 3,671.25, 3,697.50 และ 3,692.50 กรัมต่อตัว (P>0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1,970.25, 1985.50, 1980.13 และ 1,930.28 กรัมต่อตัวตามลำดับ (P<0.05) อัตราการเจริญเติบโต เท่ากับ 46.91, 47.27, 47.14 และ 45.96 กรัมต่อตัวต่อวัน (P<0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 1.86, 1.84, 1.86 และ 1.91 (P<0.05) อัตราเลี้ยงรอด เท่ากับ 100, 95, 100 และ 95 เปอร์เซ็นต์ (P>0.05) และต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.56, 32.36, 32.68 และ 33.74 บาท (P<0.05) สรุปได้ว่าการเสริมสารสกัดหยาบจากใบมันสำปะหลังในน้ำดื่มที่ระดับ 10 – 20 มิลลิกรัมต่อลิตรมีผลเชิงบวกต่อสมรรถะการผลิตไก่เนื้อ

Article Details

How to Cite
ศรีโพนทัน ไ., รัตนธรรม ช., & จิตรไธสง ช. (2023). ผลการเสริมสารสกัดหยาบจากใบมันสำปะหลังในน้ำดื่มต่อสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อ. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 7(1), 110–116. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/265260
บท
บทความวิจัย

References

ดุจดาว คนยัง, ณัฐพร จันทร์ฉาย, และ วิวัฒน์ หาญธงชัย. (2553). การใช้สมุนไพรไทยในการเพิ่มสมรรถภาพการเจริญเติบโต และควบคุมโรคบิดในไก่เนื้อ. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บุญนำพา ด่างเหลา และ ไพฑูรย์ ศรีโพนทัน. (2562). ผลของสารโพลีฟีนอลที่สกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามต่อสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สอฉ 3 วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (6 กันยายนหน้า 125). มหาสารคาม : โรงแรมเอส - ตะวัน.

ไพฑูรย์ ศรีโพนทัน. (2550). ผลของกล้วยน้ำว้าดิบบดต่อการรักษาโรคท้องร่วงในลูกสุกร. เอกสารประกอบในการประชุมวิชาการเครือข่ายการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ ศรีโพนทัน, บุญนำพา ด่างเหลา, และ ธนพนธ์ ธิสงค์. (2566). ผลการเสริมใบมะเขือพวงผงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของไก่เนื้อใน.การประชุมวิชาการระดับชาติสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “BCG Model for Agriculture” (1 มีนาคม). ยโสธร : วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร.

เมธา วรรณพัฒน์ และ กฤตพล สมมาตย์. (2545). ผลของแทนนินที่ได้จากใบมันสำปะหลังต่อการย่อยได้ของโปรตีนหยาบ และกรดแอมมิโนที่สำคัญในส่วนรูเมนและลำไส้. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ แก้วเพ็ชร์, สุณีนุช คุ้มภัย, สุรัตน์ โหนา, และ อลิษา โต๊ะ. (2553). การศึกษาสารสกัดแทนนินจากพืชในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สาธร พรตระกูลพิพัฒน์, พิทัย กาญบุตร, ประสาทพร บริสุทธิเพ็ชร, กิ่งกาญจน์ สาระชู, เจษฎา จิวากานนท์, ฉันทนา อารมณ์ดี และโสพิศ วงศ์คำ. (2547). ผลของสารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอร์ของผลกล้วยน้ำว้าดิบใบข่อย และเปลือกข่อยต่อเชื้อ Escherichia coli (F 18+). ในการประชุมสัมมนาวิชาการเกษตรแห่งชาติประจำปี 2547 “ศุภสัตว์ไทย อาหารมาตรฐานโลก” (26 - 27 มกราคม หน้า 357-361). ขอนแก่น : ห้องประชุมกวี จุติกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์การส่งออกไก่เนื้อของไทย. สืบค้นวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564. จาก https://bit.ly/3LUt4ru

อังสุมา แก้วคต. (2563). การใช้สมุนไพรเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์และการตกค้างในเนื้อสัตว์. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2564, จาก http://scimooc.bsru.ac.th/index.php?type=&page=4

เอกสิทธิ์ สมคุณา, กิตติศักดิ์ แท่นแก้ว, วิรัตน์ และโสภา, บุญเพ็ง แก้วคูณ, และกนกพร โยธิน. (2566). ผลการใช้ใบบัวบกในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่กระทง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “BCG Model for Agriculture” (1 มีนาคม). ยโสธร : วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร.

Khang, D.N., & Wiktorsson, H. (2006). Performance of rowing heifers fedurea treated fresh rice straw supplemented with fresh, ensiled or pellected cassava foliage. Livestock science Journal. 102, (1), pp. 132 - 139.

Leite, L., & Dourado, L., (2013). “Laboratory activities, science education and problem - solveing skills”. Procedia - Social and Behaviral Sciences, 106, (10), pp. 1677 - 1686.

Netpana, N., Wanapat, W., Poungchompu, O., & Toburan, W. (2001). Effect of con densed tannins in cassava hay on faeca l parasitic egg counts in swamp buffaloes and cattle. In Intemational workshop on curentresearch and developmentonuse of cassava as animal feed.preston T.R ., ogle (23 - 24 July pp. 41 - 44). Khonkaen : khonkaenuniversity