การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องอบลมร้อน ผลิตระดับวิสาหกิจชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องอบลมร้อน สำหรับใช้อบวัสดุประเภทผลไม้และสมุนไพร ผลิตในระดับวิสาหกิจชุมชน และ 2) ศึกษาหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอบลมร้อนโดยการทดลองอบมะม่วงกวน การออกแบบผู้วิจัยเลือกใช้วัสดุประกอบโครงสร้างเป็นสแตนเลส เลือกใช้แก๊ส (LPG) สำหรับสร้างความร้อน และใช้พัดลมขนาดใบพัด 18 นิ้ว ขับกำลังด้วยมอเตอร์ 1/3 แรงม้า ใช้หลักการติดตั้งแบบไหลตามแนวแกน ซึ่งมีลักษณะแรงลมต่ำ เพื่อหมุนเวียนความร้อนและระบายความชื้นได้ดีสามารถควบคุมอุณหภูมิ 40-80°C ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แสดงผลแบบดิจิตอล ใช้งานง่าย ในการทดลองได้ทดลองอบมะม่วงกวนด้วยอุณหภูมิ 40 , 50 , 60 , และ 70 องศา ตามลำดับ และได้ทดลองอบแต่ละอุณหภูมิ เป็นจำนวนอุณหภูมิละ 3 ครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ผลการทดลองพบว่า 1) ผลที่ได้จากการทดลองอบมะม่วงกวนสามารถบรรจุมะม่วงกวนได้มากกว่า 100 กิโลกรัม / ครั้ง เป็นไปตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน และ 2) ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอบลมร้อนใช้ระยะเวลาอบเฉลี่ย 4 ชั่วโมง ด้วยอุณหภูมิ 60 องศา การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ต้นทุนการสร้างเครื่องอบลมร้อนเท่ากับ 200,000 บาท มีต้นทุนการแปรผันได้แก่ต้นทุนการอบมะม่วงเท่ากับ 1.8575 บาท/กิโลกรัม ปริมาณการผลิตของเครื่องอบลมร้อนสามารถผลิตได้ 200 กิโลกรัมต่อครั้ง ๆ ละ 4 ชั่วโมง ต้นทุน 75 บาท/กิโลกรัม จำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาท พบว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 2,667 กิโลกรัม ระยะเวลาการคืนทุนของเครื่องอบลมร้อน สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 7 วัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
กฤษฎางค์ ศุกระมูล, สัญลักษณ์ กิ่งทอง, จรุญ แก่นจันทร์, สถาปัตย์ ชะนากลาง, และมนัญญา คําวชิระพิทักษ์. (2021). การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบตากแห้งโดยตรงสำหรับอบแห้งกล้วยน้ำว้าใช้ในระดับชุมชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9, (1), หน้า 38 - 48.
กฤษณ์ สงวนพวก. (2019, January - June). กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน และฟลาโวนอยด์ของมะม่วงรับประทานดิบสายพันธุ์พื้นบ้านในประเทศไทยหลังการเก็บเกี่ยว. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 13, (1), หน้า 68 - 81.
กิตติเชษฐ์ สุวรรณวัฒน์, พัชราภรณ์ ญาณภิรัต, และ ศันสนีย์ สุภาภา. (2561). การออกแบบใบพัดลมระบายความร้อนแบบไหลตามแนวแกนแบบสามใบพัดสำหรับเครื่องปรับอากาศโดยวิธีการออกแบบการทดลอง. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 (30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ หน้า 171 - 180). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชญานิศ รัตนมงคล. (2561). จลนพลศาสตร์การอบแห้งมะม่วงด้วยสุญญากาศร่วมกับอินฟราเรดไกล.วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณัฐพร นันทจิระพงศ์, สุภา ศิรินาม, และรังสรรค์ โกญจนาทนิกร. (2562 , กรกฎาคม - ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของปลา สลิดแดดเดียวที่ตากด้วยตู้อบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 5, (2), หน้า 72 - 83.
รุ่งโรจน์ ตับกลาง, บุณฑริกา สุมะนา, และวรรณศิริ หิรัญเกิด. (2564, มกราคม - มิถุนายน). ผลของอุณหภูมิและเวลาทำแห้งต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระท้อนแช่อิ่มอบแห้ง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 14, (1), หน้า 1 - 11.
วีระ ศรีอริยะกุล. (2564). การอบแห้งมะม่วงน้าดอกไม้โดยใช้การแผ่รังสีอินฟราเรดไกลร่วมกับอากาศร้อน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17, (3), หน้า 169 - 182.
สมศักดิ์ คำมา. (2561, มกราคม – มิถุนายน). การออกแบบและสร้างเครื่องสับย่อยเศษพืชผักในครัวเรือน. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 11, (1), หน้า 82 - 95.
เอกกฤษ แก้วเจริญ และเอกภูมิ บุญธรรม. (2561, พฤษภาคม - ตุลาคม). ผลของความเร็วลมต่อประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21, (3 ฉบับพิเศษ), หน้า 158 - 166.
Czwielong, F., Floss, S., Kaltenbacher, M., & Becker, S. (2021, March). Influence of a micro - perforated duct absorber on sound emission and performance of axial fans. JournalApplied Acoustics, 174.