การออกแบบเสื้อผ้าสำหรับสตรีพลัสไซซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบเสื้อผ้าสำหรับสตรีพลัสไซซ์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบเสื้อผ้าสำหรับสตรีพลัสไซซ์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบเสื้อผ้าสตรีพลัสไซซ์ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสรีระรูปร่าง จิตวิทยาของสตรีพลัสไซซ์ การออกแบบเสื้อผ้า และแนวโน้มแฟชั่นปี 2024 แล้วนำมาวิเคราะห์ออกแบบเป็นเสื้อผ้าสตรีพลัสไซซ์เป็น 3 คอลเลคชั่น คอลเลคชั่นละ 6 ชุด แล้วจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็น 1 คอลเลคชั่น จำนวน 6 ชุด ซึ่งใช้เรื่องราวของ Oceana มาเป็น แรงบันดาลใจในการออกแบบรูปแบบเสื้อผ้าพลัสไซซ์ เฉดสี ชนิดของผ้า เทคนิคการตกแต่งเสื้อผ้า จากนั้นศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างโดยกลุ่มเป้าหมายคือ สตรีพลัสไซซ์มีอายุ 25-40 ปี จำนวน 50 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาพบว่า พนักงานบริษัท และมีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ซึ่งโดยรวมให้ระดับสตรีพลัสไซซ์ส่วนใหญ่มีอายุ 25-29 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.49 โดยชุดแบบที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.70 รองลงมา คือ ชุดแบบที่ 3 และชุดแบบที่ 5 ค่าเฉลี่ยเท่ากันที่ 4.60 ชุดแบบที่ 4
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
เกชา ลาวงษา, ณัฐชยา เปียแก้ว, ไตรถิกา พิชิตเดช, พีรวุฒิ สื่อเฉย, วัชราภรณ์ ชะเสริมไพร, และหทัยวรรณ ศิริชัยพาณิชย์. (2565, มกราคม-มิถุนายน). การออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้ว. เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 4, (1), หน้า 40-53.
นันทพร ศรีธนสาร. (2561). ลักษณะพฤติกรรมและปัจจัยต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของผู้หญิง พลัสไซส์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชญาณ์พัฐ คงสมพงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแต่งกายและการซื้อเสื้อผ้าของผู้หญิงพลัสไซส์ (Plus size). วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการ มหาบัณฑิต สาขาวิทยาลัยการจัดการบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Tohch, N. (2560). เทรนด์ Plus-Size และการฉีกกฎเกณฑ์ภาพลักษณ์ความงามแบบเดิม ๆ. ค้นเมื่อ ธันวาคม 23, 2565, จาก https://thestandard.co/culture-fashion-trend-plus-siz