ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา

Main Article Content

นรนิติ พรหมพื้น
ชาคริต สุริยะฉาย
ปราโมทย์ กล้าหาญ
จักรินทร์ ดำรักษ์
ชัยวิชิต เชียรชนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง คือนักเรียนที่ยังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง และทำการตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านข้อมูล โดยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา มี 7 ปัจจัย คือ รุ่นพี่ การเดินทางจากบ้านถึงสถาบัน ศักดิ์ศรีสถาบัน ครอบครัว ปัญหาส่วนตัว เพื่อน และสารเสพติด

Article Details

How to Cite
พรหมพื้น น., สุริยะฉาย ช., กล้าหาญ ป., ดำรักษ์ จ., & เชียรชนะ ช. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 8(2), 44–51. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/272208
บท
บทความวิจัย

References

กฤตพร ชุมสุวรรณ. (2559). การศึกษาแนวทางเพื่อจัดการปัญหาการทะเลาะวิวาท ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฐาปนัส เรืองรัตนพงศ์ และ ศศิภัทรา ศิริวาโท. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ: กรณีศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563 (1 พฤษภาคม หน้า 911–1,000). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2557). พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง กรณีศึกษาการทะลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระครูกิตติวราทร, และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหารทะเลาะวิวาทของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิธี (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุณีย์ กัลยะจิตร, อนุสรณ์ พยัคฆาคม, และ มนตรี ยิ้มแย้ม. (2561, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบและแนวทางการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. สหศาสตร์, 18, (1), หน้า 167-192.

อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์. (2561). มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.