การพัฒนาชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ดิเรก ใจดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบ จุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 2) หาคุณภาพของชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ชุด ฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์การดำเนินการวิจัย นำชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนภาคทฤษฎี และในระหว่างเรียนให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ฝึกปฏิบัติตาม ใบงาน หลังเรียนจบบทเรียนให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นำคะแนนมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.56/ 81.65 เป็นไปตามเกณฑ์เกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. คุณภาพของชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น โดยรวมทั้งสองด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.91 , S.D. = 0.11) 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อชุดฝึกที่สร้างขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น มีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71 , S.D. = 0.28)

Article Details

How to Cite
ใจดี ด. (2024). การพัฒนาชุดฝึกวิเคราะห์หาข้อขัดข้องระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจำลองปัญหาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 8(1), 23–37. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/274122
บท
บทความวิจัย

References

ประดิษฐ์ เลิศโพธาวัฒนา. (2562). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda Wave 110i. วารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง, 3, (1) (2019), หน้า 49-57.

ประทีป ฟองเพชร. (2559). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกงานกลึงมินิซีเอ็นซี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ภาวนา พรหมสาลี, ประชิต พรหมสุวรรณ และ ปรีชา ชยักูล. (2561). การสร้างชุดฝึกปฏิบัติการต่อวงจรระบบไฟฟ้าในรถจักรยานยนต์. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2566, จาก https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202006/fBUxtLMUorL5BlzUiPMV/fBUxtLMUorL5BlzUiPMV.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุง พ.ศ. 2565). ค้นเมื่อ สิงหาคม 10, 2566, จาก https://bsq.vec.go.th/Portals/9/Course/20/2562amend2565/20100/20101v2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2565-2579. ค้นเมื่อ สิงหาคม 10, 2566, จาก http://www.lampangvc.ac.th/2021/admin/ckfinder/userfiles/files/ITA/2563/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A/O6-6.pdf

สุรพล คำนวนศักดิ์. (2546). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดจำลองสถานการณ์ข้อขัดข้อง ของระบบจุดระเบิดแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.