การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยการออกแบบบล็อก-เบห์นเคนในการทำนายสมบัติทางกลของกรรมวิธีทางความร้อนสำหรับ Inconel 738 ที่ผ่านการใช้งาน

Main Article Content

สุภวรรณ์ กริ่งรัมย์
สุจรรยา แก้วพรายตา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบบล็อก – เบห์นเคนในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากการทำกรรมวิธีทางความร้อนเพื่อทำนายค่าความแข็งสำหรับ Inconel 738 ที่ผ่านการใช้งานโดยทำการศึกษา 3 ปัจจัยหลัก คือ อุณหภูมิในการอบละลาย (X1) อุณหภูมิในการบ่มแข็ง (X2) และเวลาในการบ่มแข็ง (X3) ศึกษาด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบบล็อก – เบห์นเคน เพื่อกำหนดผลการทดสอบ ค่าความแข็ง ผลการศึกษาพบว่า สมการทำนายสมบัติทางกลด้านความแข็งที่เหมาะสม คือ สมการเต็มรูปแบบยกกำลัง ปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดต่อค่าความแข็ง คือ อบละลายที่อุณหภูมิ 930 องศาเซลเซียส บ่มแข็งที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในการบ่มแข็ง 20 ชั่วโมง สรุปได้ว่าอุณหภูมิในการอบละลาย อุณหภูมิในการบ่มแข็ง และเวลาในการบ่มแข็งมีอิทธิพลต่อสมบัติทางกลด้านความแข็งอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าชิ้นงานมีความแข็งมากที่สุดจะมีปริมาณของแทนทาลัมคาร์ไบด์หนาแน่น ซึ่งผลจากการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการทำกรรมวิธีทางความร้อนของ Inconel 738 ได้

Article Details

How to Cite
กริ่งรัมย์ ส., & แก้วพรายตา ส. (2024). การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยการออกแบบบล็อก-เบห์นเคนในการทำนายสมบัติทางกลของกรรมวิธีทางความร้อนสำหรับ Inconel 738 ที่ผ่านการใช้งาน. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 8(2), 1–7. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/278756
บท
บทความวิจัย

References

นพสิทธิ์ ภูถมเมฆ. (2556). ศึกษาเปรียบเทียบกลไกการเกิดความเสียหายของวัสดุ Nickel base superalloy เกรด GTD-111 และเกรด Inconel -738 ของชิ้นส่วนใบพัดเทอร์ไบน์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว. โครงงานวิจัย ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วีรเทพ เฉลิมสมิทธิ์ชัย. (2550). การศึกษาปริมาณธาตุที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กดิบโดยวิธีการออกแบบการทดลอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ.

วัลย์วิภา แก่นจันทร์. (2555). การเพิ่มปริมาณธาตุซิลิกอนในผิวเคลือบอลูมิไนด์ในโลหะผสมพิเศษเบสนิเกิลเกรด INCONEL 939. โครงงานวิจัย ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ และ ภูมินทร์ แจ่มเชื้อ. 2554.การลดฟองอากาศในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเกน. ในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554 (IE Network 2011) (20-21 ตุลาคม หน้า 171-175). ชลบุรี: โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน.

สิรินญา จันทร์ศักดิ์สูง. (2550). ผลของอุณหภูมิและเวลาต่อความหนาและโครงสร้างชั้นเคลือบในกระบวนการ Pack-Aluminizing ของโลหะผสมพิเศษนิกเกิลชนิด IN 738 และ GTD 111. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม โลหการ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชาติ พานิชกุล และ อุษณีย์ กิตกำธร. (2554). การอบชุบทางความร้อนของโลหะ. ค้นเมื่อ ตุลาคม 23, 2566, จาก http://personal.sut.ac.th/heattreatment/context/Measurement_Of_Hardness.html

อภินันท์ แต้ตระกูล และ จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์. (2554, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาหาค่าการติดตั้ง ที่เหมาะสมสำหรับเครื่องจักรเชื่อมอัตโนมัติ: กรณีศึกษาชิ้นส่วนเครื่องบิน. บริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8, (1), หน้า 47-58.

Balasubramanian, M. (2015, July). Application of Box–Behnken design for fabrication of titanium alloy and 304 stainless steel joints with silver interlayer by diffusion bonding. Materials & Design, 77, pp.161-169.

Gunaraj, V., & Murugan, N. (1999). Application of response surface methodologies for predicting weld base quality in submerged arc welding of pipes. Journal of Materials Processing Technology, 88, (1-3), pp. 266-275.

Hill, W.J. & Hunter, W.G. (1966, November). A Review of Response Surface Methodology. Technometrics, 8, (4), pp. 571-590.