การออกแบบลวดลายพิมพ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าจกไท-ยวน สู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบลวดลายผ้าพิมพ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาผ้าจกไท-ยวน จังหวัดราชบุรี และเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาผ้าจกไท-ยวน สู่การเพิ่มมูลค่าในกลุ่มสินค้าทางการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ร่วมกับการใช้ข้อมูลเชิงสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านลวดลาย และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนารูปแบบลวดลายผ้าพิมพ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าจกไท-ยวน ร่วมกับการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ/นักออกแบบ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน จากการศึกษา ลวดลายผ้าพิมพ์ที่พัฒนาสามารถต่อยอดเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการท่องเที่ยวของชุมชน และสามารถส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สู่การต่อยอดในการผลิตเป็นสินค้าในกลุ่มของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว โดยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.28
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). “ผ้าจก”มรดกทางวัฒนธรรมไท-ยวน จังหวัดราชบุรี. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2564, จาก https://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5848&filename=in
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2557). การพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้หลักการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2557). การพัฒนาลวดลายผ้าจกไท ยวนเพื่องานออกแบบแฟชั่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่าง ยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2564 , จาก https://www.randdcreation.com/content/4738/การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน-เพื่อการท่องเที่ยว-
อรวรรณ บุญพัฒน์ และ ปริพรรน์ แก้วเนตร. (2562, พฤษภาคม-สิงหาคม). การสร้างอัตลักษณ์ของผ้าทอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการท่องเที่ยว. วิทยาลัยดุสิตธานี, 13, (2), หน้า 117-133.