การจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • บรรจบ บุญจันทร์ กลุ่มวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • อริสา นพคุณ นักวิชาการอิสระ
  • มยุรฉัตร จรัญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

การจัดการกีฬา, ความเป็นเลิศ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกีฬา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาช่วยพัฒนาสุขภาพและพลานามัยที่ดีของประชาชน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากกีฬา การจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนและการจูงใจ ความพร้อมของนักกีฬา การบริหารจัดการองค์กร วิทยาศาสตร์การกีฬา สถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ฝึกสอน ผู้เชี่ยวชาญกีฬา การคัดเลือกนักกีฬา การฝึกซ้อม การจัดประสบการณ์ในการแข่งขัน งบประมาณ เป็นต้น มีแนวโน้มที่จะนำเวชศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะองค์ความรู้และงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา โครงสร้างและกระบวนการจัดการพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลนักกีฬาเยาวชน ระบบการให้เงินอุดหนุนอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการคัดเลือกผู้ฝึกสอนกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยนโยบายที่สำคัญและมีความชัดเจน เช่น การจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสำเร็จในการจัดการกีฬาโดยมีคณะกรรมาธิการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุน นโยบายการเพิ่มจำนวนนักกีฬาใหม่เพื่อสร้างความต่อเนื่อง นโยบายการพัฒนานักกีฬาที่มีพรสวรรค์ขึ้นมาทดแทนอย่างต่อเนื่อง นโยบายด้านการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับชาติ  และนานาชาติซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถนักกีฬาอย่างยั่งยืน นโยบายด้านการช่วยเหลือทางการศึกษา  และอาชีพหลังการเป็นนักกีฬา ซึ่งเป็นการสร้างความรู้สึกมั่นคงและเป็นหลักประกันให้นักกีฬามุ่งมั่นและทุ่มเท  นอกจากนี้ควรจัดทำแผนระยะยาวสำหรับการผลิตและพัฒนาบุคลากรกีฬาของชาติในแต่ละวิชาชีพให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ และการกีฬาแห่งประเทศไทยควรจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ทุกหน่วยงานด้านการกีฬาใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บงกช จันทร์สุขวงค์, ปัญญา สังขวดี, ทวีทรัพย์ เขยผักแว่น และพงษ์เอก สุกใส. (2562). องค์ประกอบของการจัดการกีฬาในโรงเรียนกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(1) : 424-427.

ประชุม บุญเทียม. (2566). ข้อเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศขององค์กรจากการบริหารอย่างมีประสิทธิผลของการกีฬาแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 15(1) : 323-335.

พัชรินทร์ ปาวะลี, อาพัทธ์ เตียวตระกูล และทัศนา จารุชาต. (2564). สภาพและแนวทางการพัฒนานักกีฬาด้วยหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสำนักงานกีฬาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตภาคเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7(2) : 79-95.

พัชรภรณ์ เกตุพันธุ์. (2551). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมนักกีฬาไทยเพื่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฤทธิกร เกียรติกุลภักดี, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และไพรภรัตน ชูวงศ์. (2564). แนวทางการบริหารจัดการโครงการกีฬาเพื่อการแข่งขันสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 4(1) : 25-39.

ลัดดา เรืองมโนธรรม และสืบสาย บุญวีรบุตร. (2559). ปัจจัยและแนวทางการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ: แบบจำลองประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(1) : 35-48.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). ข้อเสนอการปฏิรูปเร็ว. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

สมทบ ฐิตะฐาน. (2561). บทความเรื่องกีฬาอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566. จาก http://www.smat.or.th/view/

สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). การศึกษาเพื่อวิเคราะห์งบประมาณการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29