การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศิรินันท์ ถนัดค้า สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000

คำสำคัญ:

บทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ประสิทธิภาพของบทเรียน, ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน, การคิดวิจารณญาณ, ความพึงพอใจในการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) บทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดการคิดวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบสมมติฐานใช้ค่า Paired t- test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT พบว่า มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 82.60/84.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า นักศึกษามีการคิดวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจ โดยรวม อยู่ที่ระดับมากที่สุด

References

กุลรภัส คำยวง. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต. (2563). พัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together : LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารจันทรเกษมสาร. 26(1) : 61-73.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา : การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ และบทเรียนบนเครือข่าย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ณรงค์เพ็ชร. (2547). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (ช่วงชั้นที่ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา มั่นศักดิ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การสร้างและตกแต่งงานคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วยโปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 สุวีริยาสาส์น : กรุงเทพฯ.

ผ่องฉวี มณีรัตนพันธุ์. (2566). การเรียนรู้แบบร่วมมือ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/201289

พันทิพา ศรีสวัสดิ์ และธิดารัตน์ ทวีทรัพย์. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 22 กุมภาพันธ์ 2564. 81-89. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/19652021-03-04.pdf

วรศักดิ์ อัครเดชเรืองศรี. (2558). ความพึงพอใจและความต้องการของผู้ปกครองต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนภูมิสมิทธ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2567). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567. จาก http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1177

วิเชียร ภคพามงคลชัย. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรินันท์ ถนัดค้า. (2555). การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมใจบนเว็บเพื่อส่งเสริมการรู้คิดสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายพิน แก้วงามประเสริฐ. (2563). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2563. จาก https://www.gotoknow.org/posts/206218

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุพรรณี สุวรรณจรัส. (2543). ผลของการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อับดุลมันนาน มะดอรอแม. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา อัลหะดิษโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI). 3(1) : 29-40.

Johnson, D. W. and Johnson, R. (1994). Learning Together and Alone, Cooperative, Competitive, and Individualistic Learning. Needham Heights. MA : Prentice- Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29