การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา หนันทุม สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000
  • นิลรัตน์ โคตะ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น                 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.02/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐวุฒิ สวยนภานุสรณ (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา เรื่อง สารเสพติดโดยใช้การสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 24(2) : 46-60.

ติณณภพ มาลาพุด. (2562). การเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใช้ปัญหาเป็นฐานกับการ จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ในเนื้อหาวิชาสุขศึกษา เรื่องอาหารและโภชนาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2551) รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แหjงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์

บรรจง อมรชีวิน. (2556). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ : Critical Thinking : หลักการพัฒนาการคิดอย่างมีตรรกะ เหตุผล และดุลยพินิจ. นนทบุรี: อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์.

ปทุมรัตน์ อาวุโสสกุล. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2559). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

พิชญาภา พัฒน์รดากุล. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (BBL). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. ชัยภูมิ : โรงเรียนหนองสังข์วิทยา.(2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. ชัยภูมิ : โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน. น. 32-34.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิตา ชุณหโชติอนันต์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.kroobannok.com/89829

สุดารัตน์ สันจรรัตน์ และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. 6(10) : 160-175.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

อริสา สินธุ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง มหันตภัยยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2561.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29