การพัฒนาทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • นพวรรณ แก้วหนองแดง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000
  • เกษกนก วรรณวัลย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ , สื่อมัลติมีเดีย , แบบฝึกทักษะ , ทักษะการออกเสียง , ระบบสัทอักษรพินอิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านจอก (คอนสวรรค์วิทยากร) จำนวนนักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบ ทดสอบการออกสียง จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ สัทอักษรพินอิน มีประสิทธิภาพ 87.47/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 70/70 2) ทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอินหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์.

กิติยา พรหมสอน. (2559). รายงานผลการพัฒนาการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ (คอมพิวเตอร์) 4 เรื่อง สร้างสรรค์นิทานอนิเมชั่นคำขวัญปทุมธานีตามจินตนาการด้วยโปรแกรม Microsoft Power point 2016. ปทุมธานี : โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี.

พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2560). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา.เชียงใหม่ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เราต้องแปลงกับดักให้เป็นความหวังดี.การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัณทนา ชินนาพันธ์ .(2562). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษร (พินอิน) โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201. สุราษฎร์ธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.

วรารักษ์ พูนวิวัฒน์. (2557). ระบบเสียงภาษาจีนกลาง. (ม.ป.ท.). คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

วีณา วโรตมะวิชญ์. (2559). การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษา. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2558). คณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (อัดสำเนา)

สัมภาษณ์ นวลมณี ดีวิเศษสิริ, ครูชำนาญการพิเศษ, หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 1, 3 พฤศจิกายน 2565.

สุกัญญา แดนแก้วรัตน์สกุล. (2563). บทความงานวิจัยการพัฒนาทักษะการออกเสียงพินอินโดยใช้สื่อมัลติมีเดียรายวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) จังหวัดเชียงราย. หลักสูตรปริญญาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุจิตรัตน์ ทิพย์ธารัตน์. (2558). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธัญญา รัตนบรรพต. (2558) การพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องร้อยละชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุรัสวดี สุทธภักดี. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22