ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

ผู้แต่ง

  • ญาณิสา สมอเผื่อน กลุ่มวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • บรรจบ บุญจันทร์ กลุ่มวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน 192 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวัดประเมินผลการเรียนการสอน 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา มีอิทธิผลร่วมกันต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างด้านเหล่านี้กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เป็น .676 และสามารถอธิบายความแปรปรวนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6 ได้ร้อยละ 45.7

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2548). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พิมพ์ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ไกรวรรณ สาช่อฟ้า. (2564). สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชลนิชา ศิลาพงษ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2556). การบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). ภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553). การบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

รุ่ง แก้วแดง. (2545). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษาผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

_______. (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). สงขลา: บริษัท นําศิลป์โฆษณา จํากัด.

วรรณกร โชมขุนทด. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (2564). แผนการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2563-2565) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ .ศ. 2564. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการ บริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุรีย์พร ฟากฟื้น. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(3) : 27-40.

เศรษฐพงศ์ นันภิวงค์. (2563). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.

Hallinger, P. & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behavior of principals. Chicago: The University of Chicago.

Kimbrough, R. B., & Nunery, M. Y. (1988). Education administration: An introduction. New York: Macmillan.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

Krug, F. (1992). Instructional leadership: A constructivist perspective. Educational Administration Quarterly. 28(3) : 430-443.

McEwan, E. K. (1998). Seven steps to effective instructional leadership. California: Corwin Press.

Weber, J. (2002). Instructional leadership: A composite working model. The Bast of ERIC. 91(1) : 22-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29