แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพภายใน , แนวทางการพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา 3) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 331 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสถานศึกษาขนาดกลางมีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสูงกว่าสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ควรพิจารณามาตรฐานการศึกษาโดยมีการจัดประชุมกับฝ่ายวิชาการของโรงเรียนควรใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์เพื่อปรับแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาใช้กระบวนการ PLC ในโรงเรียน ควรสร้างความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดกรอบการประเมิน ควรมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในรูปแบบ Facebook line website
References
“กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561” (2561, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 11 ก. หน้า 3.
จิตต์วิมล คล้ายสุบรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐพล รักไทย. (2557). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิตยา ราชรักษ์, อโณทัย ประสาน และสุภาพ เต็มรัตน์. (2561). การดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(2) : 184-204.
พิรุณศักดิ์ มหานิติพงษ์, เจริญวิทย์ สมพงษ์ธรรม, ชารี มณีศรี และศันสนีย์ บุญเฉลียว. (2564). สภาพและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(1) : 59-73.
วรรณภา นันทะแสง, ประคอง พลสิทธิ์, พัชรินทร์ อุทัยฉัตร และประมวล อุ่นเรือน. (2564). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารการวิจัยและพัฒนาพุทธศาสนา. 7(3) : 277-290.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2565). แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคุรุสภา ลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : เอ็น.เอ. รัตนะ เทรดดิ้ง.
อำรุง จันทวานิช. (2550). สาระงานวิจัย. วารสารการศึกษาไทย. 4(30) : 70-81.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sampling size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 10(11) : 308-318.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. New York : Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.