ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้าง ทักษะการควบคุมตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยม, ทักษะการควบคุมตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) จำนวน 8 ห้องเรียน เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 220 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2561) โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่มีทักษะการควบคุมตนเอง ตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 65 ลงมา จำนวน 16 คน และแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คนโดยที่กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบวัดการควบคุมตนเองแบบสถานการณ์ 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเอง สถิติที่นำมาวิเคราะห์ทดสอบเป็นแบบไม่อิงพารามิเตอร์ (Non – parametric Statistic) สำหรับการวิเคราะห์ทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่ม ในช่วงระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติทดสอบวิล คอกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Rank Test) ส่วนการวิเคราะห์ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ในช่วงระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู (Mann – Whitney U Test) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนการควบคุมตนเองในระยะหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนการควบคุมตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กานดา พู่พุฒ. (2548). กลวิธีควบคุมตน การเลือกทางชีวิตอย่างฉลาด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(1), 94-104.
เจียรนัย ทรงชัยกุล, และโกศล มีคุณ. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาแบบ พิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ในประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เล่ม 1 หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
นฤมล เปี่ยมปัญญา. (2553). การให้คำปรึกษาแบบกล่มุตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในการเผชิญความโกรธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวดัสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
วัชรี ทรัพย์มี. (2550). กระบวนการปรึกษาขั้นตอนสัมพันธภาพทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินีนาฎ สุทิน. (2548). การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฏีพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีวิกรม์ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว.
หทัยชนก พันพงศ์. (2555). การพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
อดุล นาคะโร. (2551). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเองโดยใช้กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1–15.
Bandura. A. (1986). Social Foundations of Thought and Action : A social cognitive theory. Englewood Cliff, N.J. : Prentice–Hall. Inc.
Bandura. A. (1977). Self – Efficacy the Exercise of Control. New York: R R Donelley & Sos Company, p. 20.
Rosenbaum, Michael. (1980, January). A Schedual for Assessing Self – Control Behaviors, Preliminary Finding. Behavior Therapy. 11, 109–121.