ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย

ผู้แต่ง

  • อินทรียา อัญพัชร์ หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาประยุกต์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • ดวงเดือน ศาสตรภัทร คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนหลุยส์

คำสำคัญ:

การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์, เด็กหญิงวัยรุ่น, พื้นที่เขตคลองเตย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่ เขตคลองเตยที่เกี่ยวข้องกับ 1) ระดับความชอบเสี่ยงทางเพศ การควบคุมตนเอง ค่านิยมทางวัตถุ ความภาคภูมิใจตนเอง กับการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความชอบเสี่ยงทางเพศ การควบคุมตนเอง ค่านิยมทางวัตถุ ความภาคภูมิใจตนเอง กับการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ 3) อำนาจพยากรณ์ของการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ตามตัวแปรความชอบเสี่ยงทางเพศ การควบคุมตนเอง ค่านิยมทางวัตถุ ความภาคภูมิใจตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย ที่มีอายุระหว่าง 12 – 14 ปี จำนวน 320 คน ได้มาจากการสุ่ม เลือกชุมชมจาก 41 ชุมชน มาเป็น 5 ชุมชน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมืองานวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งประกอบด้วย 1) การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ 2) ความชอบเสี่ยงทางเพศ 3) การควบคุมตนเอง 4) ค่านิยมทางวัตถุ 5) ความภาคภูมิใจตนเอง ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็น มาตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise ตลอดจนการหาสมการทำนาย ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับค่าเฉลี่ยของการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เท่ากับ 2.71 ค่านิยมทางวัตถุเท่ากับ 1.80 ความภาคภูมิใจตนเองเท่ากับ 4.03 การควบคุมตนเองเท่ากับ 3.91 ความชอบเสี่ยงทางเพศเท่ากับ 2.10 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความชอบเสี่ยงทางเพศกับการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เท่ากับ .53 ค่านิยมทางวัตถุกับการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เท่ากับ .34 และความภาคภูมิใจตนเองกับการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เท่ากับ .16 3) อำนาจพยากรณ์ของการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความชอบเสี่ยงทางเพศ และค่านิยมทางวัตถุของเด็กหญิงในพื้นที่เขตคลองเตย สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ คือ Y = .31 + .84 X1 + .31 X3 และสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ คือ Y/ = .59 X1/ + .27 X3/

Author Biographies

อินทรียา อัญพัชร์, หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาประยุกต์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาประยุกต์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

ดวงเดือน ศาสตรภัทร, คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนหลุยส์

รองศาตราจารย์ ดร. ภาควิชาจิตวิทยาประยุกต์, คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนหลุยส์

References

กรมการปกครอง. (2561). จำนวนประชากรแยกรายอายุ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). กองวิชาการ. สืบค้นจาก http://www.bps.m–society.go.th/contents/index/4

จุฑารัตน์ เอื้ออานวย. (2553). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล แจ้งอักษร. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(97), 22.

ทราย ศรีเงินยวง. (2559). แนวทางการพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเอง Guidelines for the development of self – control test โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(93), 11.

ปวีร์ ปรีชาชาญ. (2552). การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กในชุมชนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพจิต ภูแช่มโชติ และวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2555). การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาการพยาบาชเวชปฏิบัติชุมชน.

ภานุมาศ เสนีย์ศรีสกุล. (2554). การรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นกรณีศึกษาในนักเรียนระดับอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพันธ์ หรุ่นรักวิทย์. (2559). ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับพฤติกรรมการเลียนแบบเน็ตไอดอลของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ลำเจียก กำธร. (2557). วัยรุ่นวัยวุ่นกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมป้องกันอย่างไร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 30(3), 97 – 105.

สำนักงานเขตคลองเตย. (2561). ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่เขตคลองเตย. สืบค้นจาก http://www.bangkok.go.th/khlongtoei.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. สืบค้นจากhttp://rh.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=26&filename=index.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=26&filename=index.

อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2557). ทัศนคติทางเพศของประชากรรุ่นใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 “ประชากรและสังคม 2557” เรื่อง “การเกิดกับความมั่นคงในประชากรและสังคม” :สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วสป.). มหาวิทยาลัยมหิดล.

A.H. Maslow. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review 50, 370 – 96.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191–215.

Hurlock, E. B. (1967). Adolescent Development. n.p.: n.pb, p. 122.

Yamane, T. (1970). Statistics an Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07