ผลการใช้รูปแบบการสอนด้วยผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ปิยพงษ์ พรมนนท์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนด้วยผังกราฟิก, การเขียนสรุปความ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลองกับเกณฑ์ 2) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุมแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) จากห้องเรียนจำนวน 8 ห้อง ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 และ 6/4 จำนวนนักเรียน 58 คน หลังจากนั้นใช้ข้อสอบมาตรฐาน (Standard Test) ที่ดัดแปลงจาก Cambridge University Placement Test จำนวน 30 ข้อ ในการแบ่งระดับความสามารถของนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A กลุ่ม B และกลุ่ม C หลังจากนั้นทำการ Random Assignment อีกครั้งได้นักเรียนกลุ่ม B ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 10 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการทดลองโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบอนุกรมเวลา One – Group Time Series Design ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 20 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 45 นาที มีการวัดพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความจำนวน 4 ครั้ง หลังนักเรียนรู้จบหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ (3 สัปดาห์/1 ครั้ง) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษจำนวน 2 ชุด (ก่อนเรียน – หลังเรียน และระหว่างเรียน) และเกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกส่วนประกอบที่มีค่าความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนนเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบบ t – test for dependent sample, t – test for one group และแบบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated) และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้กราฟเส้น ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษหลังสูงกว่าก่อนการทดลอง และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรรณิการ์ สุพิชญ์. (2558). ผังกราฟิก: เครื่องมือช่วยการเรียนรู้ Graphic organizers: Effective learning tool. วารสารศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 19 – 39.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

เบญจา ลาภโสภา. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ.

ปรวิศา นำบุญจิตร. (2558). ผลของการใช้เกมประกอบการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ ความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 3(2), 120 – 128.

ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่

เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการ จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญลักษณ์ มณีโชติ. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดของเคิร์กแพทริค. วารสารการวัดผลการศึกษา. 33(93).

ภัคนิษฐ์ วรรณเฉลิม. (2555). การใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม).

(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ลัดดา หวังภาษิต. (2546). การพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โดยใช้วิธีการสอนเขียน

แบบเน้นกระบวนการ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). (2560). รายงานประจำปี

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม).

วราพร ทองจีน. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาและความ เชื่อมั่นในตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (รูปแบบที่ 2) กับการสอนแบบเดิม. ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุจริต เพียรชอบ. (2540). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์

เสาลักษณ์ รัตนวิชช์. (2556). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน.

อดิสรณ์ เรืองกิจจานันท์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการฝึกทาง

ปัญญาจากต้นแบบร่วมกับแนวคิดการเขียนแบบเน้นกระบวนการเพื่อส่งเสริมความสามารถใน

การเขียนความเรียงและการคิดไตร่ตรองของนิสิตปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.

Bai, B. (2018). Understanding primary school students’ use of self – regulated writing strategies through think – aloud protocols. System, 78, 15 – 26.

Clark, H. (1991). Using Visual Organizer to Focus on Thinking. Journal of Reading, 34 (7), 526 – 534.

Dunn, M. (2012). Response to intervention: Employing a mnemonic – strategy with art media to help struggling writers. Journal of International Education and Leadership, 2(3), 1 – 12.

Dunn, M. (2014). Writing – skills Intervention Programming and its being a Component of

Response to Intervention. Journal of Education and Learning, 8(4), 368 – 386.

Goss, P. (2009). The Influence Graphic Organizers on Students’ Ability Summary and

comprehend Science content regarding the earth’s changing surface. The

University of Central Florida Orlando, Florida.

Graham, S., Harris, K. R., Fink – Chorzempa, B., & MacArthur, C. (2002). Primary grade teachers’ theoretical orientations concerning writing instruction: Construct validation and a nationwide survey. Contemporary Educational Psychology, 27, 147–166

Jones, B.F., et al. (1989). Teaching Students to Construct Graphic Organizer. Educational Leadership, 46(4), 20-25.

Joyce, B., Well, M., & Showers, B. (1992). Model for Teaching (5th Ed). Boston: Allyn and Bacon.

Kansızoğlu, H. (2017). The Effect of Graphic Organizers on Language Teaching and Learning Areas: A Meta – Analysis Study. Education and Science, 42, 139 – 164.

Miller, S. (2012). Using Graphic Organizers to increase Writing Performance. State University of New York at Fredonia.

National Center on Response to Intervention. (2010). Essential Components of RTI – A

Closer Look at Response to Intervention. National Center on Response to

Intervention.

Oklahoma State Department of Education. (2011). Response to Intervention (RtI) Guidance Document. Oklahoma State Department of Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07