การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
คำสำคัญ:
คุณลักษณะความเป็นคนดี, การพัฒนาเครื่องมือวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 555 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียน 3 ฉบับ ได้แก่ เครื่องมือวัดสำหรับครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน สำหรับผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน และสำหรับนักเรียนประเมินตนเอง วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่า IOC หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด หาค่าอำนาจจำแนกด้วยวิธี Item total correlation และ หาความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการสร้างแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยแบบวัด 3 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดสำหรับครูมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ แบบวัดสำหรับผู้ปกครอง มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ และ แบบวัดสำหรับนักเรียนมีลักษณะเป็นแบบสอบปรนัยชนิดสถานการณ์จำนวน 30 ข้อ ซึ่งแต่ละฉบับวัดลักษณะความเป็นคนดี 5 ด้าน คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความขยันหมั่นเพียร
- ผลการหาคุณภาพของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปรากฏผลดังนี้
2.1 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.422 ถึง 0.851 มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.888 ถึง 0.924 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.970
2.2 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของ พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.322 ถึง 0.742 มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.734 ถึง 0.844 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.936
2.3 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.234 ถึง 0.891 มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.465 ถึง 0.917 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.933
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ค่านิยม 12 ประการ. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/home/.
กลิ่นประทุม แสงสุระ. (2550). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการวัดผลการศึกษา.
เจนจิรา ชิดชอบ. (2548). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาการวัดผลการศึกษา.
ตีรณา พลอยสวัสดิ์ไชย สุวิมล ติรกานันท์ และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมจากความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 – 6 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 110–125.
นาตยา รัศมี. (2553). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีวินัยสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
นิภา วงษ์สุรภินันท์. (2548). การสร้างแบบวัดลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนสำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, การวัดผลการศึกษา.
นิรมล กิตติวิบูลย์. (2550). ปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่สังคมฐานความรู้ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย. วารสารการศึกษาไทย, 4(35), 38–47.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย. สืบค้น 17 ธันวาคม 2558, จาก www.watpon.com/boonchom/09.doc.
. (2545). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). งานวิจัย : การศึกษาองค์ประกอบคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์, 3(2-3), 71–76.
บุญยภา ชมศิริ. (2547). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอโพนทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาการวัดผลการศึกษา.
ปรีชา เครือวรรณ และสมพงษ์ พันธุรัตน์. (2558). การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย. สืบค้น 17 ธันวาคม2558, จาก http://www.slideshare.net.
ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). สถิติวิจัยทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: ตถาดา พับลิเคชัน.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 7. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). ร่างมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4. กรุงเทพฯ: อักษราการพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุทธิรักษ์ ไชยวุฒิ. (2547). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามการจัดหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา.
สุนันท์ สีพาย. (2562). บทความของครูไทยในการศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(2), 3–14.
เอมอร สังเว. (2547). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาการวัดผลการศึกษา.