ผลการปรึกษาออนไลน์รายบุคคลทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริษัท
คำสำคัญ:
ความเครียดในการทำงาน, พนักงานบริษัท, การปรึกษาออนไลน์, ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาออนไลน์รายบุคคลทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริษัท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานบริษัทเอกชนฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่มีคะแนนความเครียดในการทำงานตั้งแต่ 79 คะแนนขึ้นไป จำนวน 20 คน และมีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความเครียดในการทำงานและโปรแกรมการปรึกษาออนไลน์รายบุคคลทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยให้การปรึกษาแก่กลุ่มทดลองจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใดๆ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี นิวแมน – คูลส์ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานบริษัทกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในการทำงานต่ำกว่าพนักงานบริษัทกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพนักงานบริษัทกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดในการทำงานในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมสุขภาพจิต. (2561). ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาทางแก้ปัญหา “สุขภาพจิตคนวัยทำงาน” ในเวทีการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2561. สืบค้นจาก http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/1165ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาทางแก้ปัญหา – “สุขภาพจิตคนวัยทำงาน” – ในเวทีการ.html.
กรมสุขภาพจิต. (2562). กรมสุขภาพจิต เผยสถิติประชาชนโทรปรึกษาสายด่วน 1323 เรื่อง ความเครียดจากการเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 68 แนะรับฟังความคิดที่แตกต่างได้ แต่ไม่แตกแยก. สืบค้นจาก http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/1363 – กรมสุขภาพจิต – เผยสถิติประชาชนโทรปรึกษาสายด่วน – 1323 – เรื่องความเครียดจากการเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ – 68 – แนะรับฟังความคิดที่แตกต่างได้ – แต่ไม่แตกแยก.html
กุลวิณ ชุ่มฤทัย. (2562). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออกระยะสั้นต่อการแก้ปัญหาเชิงสังคมของนิสิตชั้นปีที่1. วารสารวัดผลการศึกษา, 36(99), 116–128.
ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการ
ปรึกษาแบบเน้นทางออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). ความเครียดของนักบริหาร : ปัญหาและทางออก. วารสารสังคมศาสตร์, 19, 62–89.
ศุภมาส หวานสนิท. (2559). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ต่อ
ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา.
สุนันทา สมใจ. (2557). การบริหารงานบุคคล (Personnel Administration) กับการประเมินผลการ
ปฏิบัติงาน (Performance Appraisal). วารสารวัดผลการศึกษา, 31(89), 46–58.
อุมาภรณ์ สุขารมณ์. (2559). การให้คำปรึกษาออนไลน์ Online Counseling. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 1(12), 1–10.
Barandeh, N., Shafieabadi, A., & Ahghar, G. H. (2010). Job Stress, Group Counseling, Solution – Focused Therapy. Spring 2010, 5 (22), 1 – 21.
Beauchemin, J. (2015). Examining the effectiveness of a short – term solution – focused wellness group intervention on perceived stress and wellness among college students. Graduate Program in Social Work, Doctor of Philosophy in the Graduate School of the Ohio State University.
Bouchard, S., Payeur, R., Rivard, V., Allard, M., Paquin, B., Renaud, P., & Goyer, L. (2000). Cognitive behavior therapy for panic disorder with agoraphobia in videoconference: results. Cyberpsychology & behavior, 3, 999–1007.
Corey, G. (2009). Theory and practice of counseling and psychotherapy (8th ed.). Belmont, CA: Thomson Brooks/Cole.
Ekienabor, E. E. (2016). Impact of job stress on employees' productivity and commitment. International journal for research in business, management and accounting, 2(5), 124–133.
MacDonald, A. J. (2016). Solution – Focused Brief Therapy Evaluation List. Retrieved from http://www.solutionsdoc.co.uk
Mallen, M. J. (2005). Online counseling: dynamics of process and assessment. Ph.D., Doctor of Philosophy, Psychology (Counseling Psychology), Iowa State University.
Meier, A. (2000). Offering social support via the Internet: A case study of an online support group for social workers. Journal of technology in human services, 17(2/3), 237–266.
Simpson, S. (2009). Psychotherapy via videoconferencing: a review. British journal of guidance & counseling, 37(3), 271–286.
Slater & Gordon Lawyers. (2014). HR claim to be the most stressed at work with 62% citing stress. Retrieved from http://www.hrreview.co.uk/hr–news/wellbeing–news/hr–claim–to–be-the-most–stressed–at–work–with–62–citing–stress/52334hr–professionals.
Steel, K., Cox, D., & Garry, H. (2011). Therapeutic videoconferencing interventions for the treatment of long – term conditions. Journal of telemedicine and telecare 17(3), 109–117.