การเสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัว ด้วยการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
คำสำคัญ:
การปรับตัวทางอารมณ์, สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัว, ความรุนแรงภายในครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวด้วยการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัว ที่มีคะแนนการปรับตัวทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ จำนวน 20 คน และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการปรับตัวทางอารมณ์และโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยดำเนินการทดลองให้การปรึกษาแก่กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของนิวแมน – คูลส์ ผลการศึกษาพบว่า สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชัยวัฒน์ เดชพิทักษ์. (2555). ผลการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อการมองโลกในแง่ดีเพื่อการปรับตัวทางสังคมของเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ. (ปริญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตีรณา พลอยสวัสดิ์ไชย, สุวิมล ติรกานันท์, และกมลทิพย์ ศรีหาเกษ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมจากความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 110–125.
นพพล พร้อมเที่ยงตรง. (2549). การศึกษาและพัฒนาการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น. (ปริญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว.
ปวีณภัศร์ มิ่งขวัญธนรัชต์, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลการปรึกษาคู่สมรสทฤษฎีกลยุทธ์ต่อความมั่นคงในชีวิตสมรส. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 68–80.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, และคณะ. (2558). ประเมิณผลการใช้หลักสูตรการให้การปรึกษาเพื่อฟื้นฟูอำนาจและศักยภาพตามแนวสตรีนิยม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 38(3), 1–13.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2543). “อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์”. นนทบุรี: ที – คอม.
อัจฉพรรณ ทับทิมทอง, พรพิมล นันทะวงค์, วงศกร แจ้งจรัส, และสาวปวีณา อยู่ปฐม. (2559). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสาหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อัมพล สูอำพัน. (2542). ความผิดหวังกับการงอกงาม. นิตยสารรักลูก. 17(195), 86–88.
Ellis, Albert and John M. Whiteley. (1979). The Theoretical and Empirical Foundations of Rational – Emotive Therapy. California : Brook/Cole Publishing Company.
Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology (6th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.