การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวด้วยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง

ผู้แต่ง

  • ศุภกานต์ บำรุงสุนทร นิสิตปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง อาจารย์ ดร. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา, ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว, การปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวด้วยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวอาศัยอยู่ในตำบลหนองตะพาน ปีการศึกษา 2561 ที่มีคะแนนจากการทำแบบทดสอบในระดับต่ำกว่า 50 คะแนน และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลองคือ แบบวัดภูมิคุ้มกันทางใจ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 45 – 60 นาที ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ และใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมน – คูลส์ ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภูมิคุ้มกันทางใจ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภูมิคุ้มกันทางใจ ในระยะ หลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2559). การให้คำปรึกษาแบบพิจารณาความเป็นจริง. สารนิพนธ์พุทธศาสตร์

บัณฑิต, 31, 393–405.

นพพร ปานขาว, เพ็ญนภา กุลนภาดล และดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลการปรึกษาทฤษฎีเผชิญ

ความจริงต่อการยอมรับของภรรยาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 81–91.

นิสรา คำมณี และวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2560). การพัฒนาการปรึกษากลุมบูรณาการพหุทฤษฎี

ระหวางทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมและทฤษฎีเผชิญความจริง เพื่อเสริมสร้างเหตุผลเพื่อการดํารงชีวิตอยูของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(48), 59–77.

เพ็ญนภา กุลนภาดล และจุฑามาศ แหนจอน. (2558). การศึกษาและพัฒนาภูมิคุ้มกันทางใจ วัย

สูงอายุ โดยการบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาริสา ต่อทีฆะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(2), 125–132.

วัชรวรรณ พานิชเจริญ. (2552). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเผชิญปัญหา

ของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา.

อภิญญา ปิตินิตย์นิรันดร์, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลของการปรึกษา

กลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของนิสิตปริญญาตรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 92–106.

อรพินทร์ ชูชม, สุภาพร ธนะชานันท์, และทัศนา ทองภักดี. (2554). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.

Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology (6th ed.). Belmont, California Duxbury Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07