ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช ครองขจรสุข นิสิตปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง ดร. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, การปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษา คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนจากการจากคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก ในระดับปานกลางถึงน้อยและสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก CDI และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มทดลอง ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น จำนวน 8 คร้ัง คร้ังละ 60 นาที ดำเนินการทดลอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภท หนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี นิวแมน – คูลส์ ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ป่วยซึมเศร้าเหยื่อสังคม ถูกปรักปรำคดีฆ่าตัวตาย. วารสารกรมสุขภาพจิต. สืบค้นจากhttps://www.dmh.go.th/news–dmh/view.asp?id=30118.

กุลวิณ ชุ่มฤทัย. (2562). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการแก้ปัญหาเชิงสังคมของนิสิตชั้นปีที่ 1. วารสารวัดผลการศึกษา, 36(99), 116–128.

เจกิตาน์ มูลไธสง และปิยนุช ชมภูกาศ. (2558). ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มาใช้

บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารวัดผลการศึกษา, 32(92), 63–70.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น Adolescent Counseling. ชลบุรี: บริษัท เก็ทกู๊ดครีเอชั่น จำกัด

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทรงศรี สารภูษิต. (2558). การพัฒนาความมั่นคงทางอารมณ์ของวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวโดยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา.

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ. (2559). ภาวะซึมเศร้า Depression. วารสาร มฉก.วิชาการ, 19(38), 105.

ฐิตวี แก้วพรสรรค์ และเบญจพร ตันตสูติ. (2555). การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

อุมาพร ตรังคสมบัติ และดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. (2539). ภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(3),162–172.

Beck, A.T., Rush, A.J. Shaw, B.F., & Emery, G. (1979). Cognitive therapy of depression.

New York: Guilford.

Corey, C. (2005). Theory and practice of counseling & psychotherapy (7th ed.). Belmont, CA: Thomson Learning.

Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling (6 th ed). Belmont, CA:

De Jong, P., & Berg, I. K. (2002). Interviewing for solutions. Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.

Brooks/Cole.

Trotzer, J. P. (2006). The counselor and the group: Integrating theory, training, and practice (4th ed.). Routledge/Taylor & Francis Group.

Viktorija, C & Rytis, P. (2011). "The outcome of Solution-Focused Brief Therapy among foster care adolescents: The changes of behavior and perceived somatic and cognitive difficulties," Children and Youth Services Review, Elsevier, 33(6), 791-797.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07