ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • รัชดา แสงพุก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับพฤติกรรมทางปัญญา, ความรับผิดชอบต่อสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จันทรเกษม 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญากับนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมปรับพฤติกรรมทางปัญญา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม
ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา มนุษยสัมพันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมความรับผิดชอบ ต่อสังคม และอธิบายการเข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ รวมถึงสอบถามความสมัครใจ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ให้กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าสถิติใช้ Non Parametric Statistics (The Wilcoxon Matches Pairs Signed Rank Test และ The Mann–Whitney U Test) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกการเรียนรู้ 2) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อโปรแกรมฯ และต่อผู้วิจัย 3) โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม 4) แบบสอบถามพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบสอบถามพฤติกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบสอบถามพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ภายหลังการทดลองสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมปรับพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ฉันทนา ปาปัดถา, ณัฐภณ สุเมธอธิคม และ ปิติพงษ์ พิมพ์พิเศษ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ฉันทนา รัตนพลแสน. (2551). ความรับผิดชอบสำคัญอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558 ค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/286032
ชัยชนะ มิตรสัมพันธ์. (2552). การศึกษาการควบคุมตนเองที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพ : คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ดุสิต อุทิศพงษ์. (2547). การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ: คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 2557 (89). 34-44.

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2556). แผนพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2558 ค้นจาก http://mult.chandra.ac.th/cw/student/images/File/DSD_Online/2558/05/dsd_online_28052558.pdf
วิภาดา กาลถาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(97), 80-90.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2558 ค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf
สุนิสา คงทอง. (2557). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวิมล นราองอาจ และอริยา คูหา. (2554). จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2), 81-93.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันตญา ประทุมชาติ. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อการพัฒนาความเป็นพลเมือง
ของนิสิตหอพักหญิง ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา การศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2556). ขมวดประเด็นการปฏิรูปการศึกษาการพัฒนาประเทศไทย. วารสารวัดผลการศึกษา, 30(87), 32-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31