รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร จันทร์ลอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุฑามาส ศรีจำนงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุไรรัตน์ อาจแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพการศึกษา, หลักการ, กระบวนการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และแนวทาง
การดำเนินงานประกันคุณภาพ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกัน จำนวน 170 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง จากโรงเรียนต้นแบบด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ( =3.21,S=0.49) ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ( =4.64,S=0.29)
    แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ควรมีการดำเนินงานตามแผนในกรอบและเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งนำผลการประเมินมาปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. 2. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย (1) การสร้างความตระหนัก (2) การมีส่วนร่วม (3) การตรวจสอบคุณภาพนักเรียน 2) กระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย (1) การเตรียมความพร้อม (2) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (3) ดำเนินการตามแผน (4) ติดตามและสรุป (5) ปรับปรุงและประเมิน 3) กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย (1) การอำนวยความสะดวก
    (2) การฝึกอบรม (3) การให้คำปรึกษา เป็นรูปแบบการดำเนินงานประกันคุณภาพที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธัญลักษณ์ มณีโชติ. (2559). การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนวัดน้ำพุ.วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(94), 42.
นริสรา หร่ายพิมาย. (2559). สภาพการดำเนินการและปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี เขต1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(94), 55.
พรรษวุฒิ จูโพธิ์แก้ว. (2559). การจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา:ข้อเสนอรูปแบบประยุกต์ใช้. วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(94), .
วาสนา สุนทโรวิทย์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียน:ในระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(94), 32.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 2 เล่มที่ 1 : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อุดม แว่นแก้ว.(2558).การพัฒารูปแบบการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
Newby,Earl F.(1998). Total Quality Management and the Elementary School, Dissertation Abstracts International 89.
Segers and Dochy (1996). Quality Assurance In Higher Education: Theoretical Consideration and Emprical Evidence. Studies In Educational Evaluation. 22(2); August.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31