ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
คำสำคัญ:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ, สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัย
ด้านสิ่งแวดล้อม กับสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,032 คน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 360 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระหว่าง 0.25-0.77 2) โมเดล
เชิงสาเหตุของสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล เชิงประจักษ์ (c2= 24.53, df = 18, p-Value = 0.14, c2/df = 1.36, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.03, AGFI = 0.96, CFI = 1.00, RMSEA = 0.03) 3) ปัจจัยด้านบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.78 และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
มีอิทธิพลทางอ้อมต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 โดยส่งผ่านปัจจัยด้านบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.73
References
กรุณา โถชารี. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม, 10 (2) : 238-251.
ธนา ดุจเพ็ญ. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเอกชน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 35(97): 10-21.
พิศมัย ศรีเมฆ. (2559). คุณลักษณะของครูภาษาไทยในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
รินดา ขันธกรรม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคกลาง. บทความวิจัย เสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ. 4 : 376-385.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2559). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3) : 96-105.
สุดารัตน์ เพชรปานวงศ์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนย์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรเดช อนันตสวัสดิ์. (2554). โมเดลเชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Davis. K. & J. Newstrom. (1985). Human Behavior at work: Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill.
Ryan, R.M. & Deci, E.L. (2000). Self- Determination Theory and the Facilitation of Intrinsic Motivation, Social Development, and Well-Being. American Psychological Associatio.
Schultz, William C. (1960). FIRO: A three-Dimensional Theories of Interpersonal Behavior. London : Holt, Reinhart & Winston.
Seng Dean. (2010). Beachmarking Education systems for Results : East Asia Regional Conference. June 21-23, 2010 Singapore.