การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างรูปแบบการสอนกับคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
สหสัมพันธ์คาโนนิคอล, รูปแบบการสอน, คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้รูปแบบการสอนของครูกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 2) ศึกษาระดับของคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 3) ศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลของชุดตัวแปรรูปแบบการสอนของครูกับชุดตัวแปรคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ ราชวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 600 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับการใช้รูปแบบการสอนของครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 5 รูปแบบ มีระดับการปฏิบัติบ่อยครั้ง โดยรูปแบบการสอนที่มีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติสูงสุดคือ การสอนแบบสะเต็มศึกษา ( = 4.06, S.D. = 0.438) และการสอนแบบนิรนัย ( = 4.06, S.D. =0.429) ส่วนการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ( = 4.04, S.D. = 0.417) มีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติต่ำสุด
2) คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ทั้ง 10 ด้าน มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก โดยคุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสูงสุดคือ ความพยายามมุ่งมั่น ( = 4.08, S.D. = 0.429) ส่วนคุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมต่ำสุด คือ ความสร้างสรรค์ ( = 4.03, S.D. = 0.413)
3) สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างรูปแบบการสอนของครูกับคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ในฟังก์ชันคาโนนิคอลที่ 1 มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลเท่ากับ 0.784 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีความแปรรวนร่วมกัน ร้อยละ 61.50 (R2 =0.615) ซึ่งค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลระหว่างรูปแบบการสอนของครูและคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนที่ส่งผลซึ่งกันและกัน ( .30) ส่งผลมากเรียงตามลำดับในชุดตัวแปรอิสระรูปแบบการสอนของครู ได้แก่ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การสอนแบบสะเต็มศึกษา การสอนแบบนิรนัย การสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบอุปนัย โดยมีค่าน้ำหนัก -.687, -.655, -.616, -.581, -.500 ตามลำดับ กับชุดตัวแปรตามคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ส่งผลมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ด้านความพยายามมุ่งมั่น ด้านความร่วมมือช่วยเหลือ ด้านคิดความสร้างสรรค์ ด้านความมีเหตุผล ด้านความอยากรู้อยากเห็น ด้านความใจกว้าง ด้านความซื่อสัตย์ และด้านความรอบคอบ โดยมีค่าน้ำหนัก -.689, -.632, -.595, . -.587, -.569, -.549, -.539 -.535 -.530 -.460 ตามลำดับ
References
คณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. (2560). หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค พุทธศักราช 2560. ปทุมธานี: กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย.
กัญญาภรณ์ นามทอง. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E). วารสารราชพฤกษ์. ปีที่ 13 (ฉบับที่ 12).
จารี ผลมูล. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนแบบ STEM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ชุมชนตะกอ จังหวัดชุมพร. ปริญญนิพนธ์ กศ.ม.(วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2555). ผลการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์จิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.
ปรียานุช พรหมภาสิต. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL) for Huso at KPRU : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
ประภาณี ราญมีชัย. (2558). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษาเรื่องไฟฟ้าเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 9 (ฉบับพิเศษ). หน้า 401.
นุชเนตร ตุ้ยระพิงค์. (2556). ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างรูปแบบการสอนกับคุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธีรภัทร สุดโต. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 23 (ฉบับ 39).
เยาว์ประภา สิงห์มหาไชย (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ 12. หน้า 147.
รักษ์ศิริ จิตอารี, วิจิตร อุดอ้าย และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM EDUCATION เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(2). 202-213.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล: ส.เจริญการพิมพ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพแนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์.
สุลักขณา ใจองอาจ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 35 (ฉบับที่ 98). หน้า 41.
Alamgir Kabir, et al. (2014). Canonical correlation analysis of infant's size at birth and maternal factors: a study in rural northwest Bangladesh. PLoS One. April; 9(4): 1-8.
Laessig. R.E.. and Duckett. E.J. (1979). Canonical correlation analysis: potential for environmental health planning. Am J Public Health. April; 69(4): 353–359.