ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิต โรงเรียนพระแม่มารี โดยระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

ผู้แต่ง

  • ชาคริต สายลือนาม วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทองปาน บุญกุศล วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, การบรรเลงรวมวง, วงโยธวาทิต, เพื่อนช่วยเพื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิตโรงเรียนพระแม่มารีโดยใช้ระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิตของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80 หลังใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิตโรงเรียนพระแม่มารี โดยใช้ระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนวงโยธวาทิต ประเภทเครื่องเป่า โรงเรียนพระแม่มารี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความสามารถในการปฏิบัติบันไดเสียง C Major,   G Major และ F Major จำนวน 12 คน ใช้การเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรม Daily Warm-Ups จำนวน 6 เรื่อง ชุดกิจกรรม Performance Spotlight จำนวน 4 เพลง บทเพลงสำหรับการบรรเลงรวมวง จำนวน 2 เพลง แบบประเมินชุดกิจกรรม Daily Warm-Ups แบบประเมินชุดกิจกรรม Performance Spotlight แบบประเมินทักษะการบรรเลงรวมวง ก่อน-หลัง การใช้ชุดกิจกรรมและแบบประเมินทักษะการบรรเลงรวมวง การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าผลของการบรรเลงรวมวงโดยใช้ชุดกิจกรรม มีนักเรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 97.00 ของคะแนนทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดของนักเรียน

References

กิตติ ละออกุล และคณะ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. ปีที่ 20 (2562) (ฉบับที่ 2). หน้า 2.
ฉวีวรรณ ท่าไม้สุข. (2559). การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์. หน้า 490-492.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2535). จิตวิทยาการสอนดนตรี Psychology of music Teaching (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฎฐกาญจน์ อนันทราวัน. (2559). แนวคิดการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาแบบบูรณาการ: ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ สำหรับครูศิลปศึกษา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. (ฉบับที่ 1). หน้า 68-79.
ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2556). การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิคแบนด์ ระดับมัธยมศึกษาเพื่อการประกวด. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาดนตรีศึกษา.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บริษัท สยามกลการ จำกัด. (2534). แนวทางและข้อคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมของดุริยางค์ ในปัจจุบัน Yamaha Wind Cycle. ปีที่1 (ฉบับที่ 1).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วานิช โปตะวานิช. (2560). สัมภาษณ์. 2 กุมภาพันธ์ 2560.
วิจารณ์ พานิช (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31