การพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี มากมี หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับนักเรียน และระดับโรงเรียน โดยมี
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และใช้แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) โมเดลทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับนิยามศัพท์และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .819 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะ
การเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ ประสิทธิผลของการสื่อสาร สมรรถนะทางเทคโนโลยีและความสามารถด้านข่าวสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และตัวเลข และ
ความรับผิดชอบของพลเมือง โดยมีดัชนี้ความสอดคล้อง  = 2.373, df = 3, /df = .791,
p = .499, RMSEA = .000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMR = .008

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560ก). จุดเน้นเชิงนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562, จาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/47695-1757.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560ข). ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=48039&Key=news_Surachet
กัลยา นาวา, ไพรภ รัตนชูวงค์ และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2558). ยุทธศาตร์การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 (สามัคคีราษฎร์รังสรรค์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8(18). 75-80.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560, 28 เมษายน). ก.แรงงาน แจง เตรียมแรงงานสู่ไทยแลนด์ 4.0 เน้นดูแลทุกกลุ่ม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2562, จาก https://www.thairath.co.th/content/925094
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕. (2545). ราชกิจจานุเบกษา.
หน้า 5-7.
พนม เกตุนาน. (2550). พัฒนาการวัยรุ่น. จาก http://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2). 3-14.
สุวรรณา ใจกล้า และจตุภูมิ เจตจัตุรัส. (2562). การพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามแนวคิดการประเมินที่ใช้การปฎิบัติเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน การประชุมวิทยาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
Assessment Force Task. (2007). Community College of Philadelphia Learning Outcomes Assessment Model. Philadelphia: College of Philadelphia.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods (2nd ed.). Thousand Oaks: SAGE.
Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.
Hox, J. J. (2010). Multilevel analysis: Techniques and Applications (2nd ed.). New York: Routledge.
Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why They Matter, What They Are, and How We Get There. In J. Bellanca, & R. Brandt (Eds.), 21st Century Skills: Rethinking how student learn, (pp. 13-28). Bloomingtin: Solution Tree Pree.
Kelloway, E. K. (2014). Using Mplus for structural equation modeling: A researcher's guide. Thousand Oaks: SAGE.
Muthen, L. K., & Muthen, B. O. (2012). Mplus Statistical Analysis with Latent Variables User’s Guide (7th ed.). Los Angeles: Muthen & Muthen.
LoBiondo-Wood, G., & Haber, J. (2014). Reliability and validity. Nursing research-ebook: Methods and critical appraisal for evidence-based practice. Missour: Elsevier Mosby, 289-309.
Ongardwanich, N., Kanjanawasee, S., & Tuipae, C. (2015). Development of 21st century skill scales as perceived by students. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 191, 737-741.
Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire: McGraw-Hill.
Polit, D. F., Beck, C. T., Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in nursing & health, 30(4), 459-467.
Shi, J., Mo, X., & Sun, Z. (2012). Content validity index in scale development Zhong nan da xue bao. Yi xue ban= Journal of Central South University Medical sciences, 37(2), 152-155.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. New Jersey: John Wiley & Sons.
WHO. (1997). Life skills education for children and adolescences in school. Geneva: Programme on Mental Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31