ผลของโปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรและการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดธรรมา ภิรตาราม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กรวิกา โสรัจจะวงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

จิตสาธารณะ, การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร, การเสริมแรงทางสังคม, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรและ การเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมแรง ด้วยเบี้ยอรรถกรและการเสริมแรงทางสังคมก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรและการเสริมแรงทางสังคมฯ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรม 8 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
1) โปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรและการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ
2) แบบสังเกตจิตสาธารณะ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติใช้ Non Parametric Statistics (The Wilcoxon Matches Pairs Signed Rank Test) ผลของการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) หลังการทดลอง นักเรียนมีคะแนนจากแบบสังเกตจิตสาธารณะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ เข้าใจถึงความหมาย ตระหนักถึงความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ ดูแลรักษาสาธารณสมบัติ และสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
คิม นพวรรณ. 2552. จิตสาธารณะคือความสุขของชุมชน (Online). จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/kimz/2012/01/10/entry-1, 19 สิงหาคม 2561
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2555. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วี พริ้นท์.
ปนพงศ์ งามมาก. 2557. ผลของโปรแกรมการเสนอตัวแบบและการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสลงพันธ์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. 2557. ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช. (Online). จาก https://teen.mthai.com/variety/141808.html, 21 สิงหาคม 2561
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2553. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31