อนาคตภาพการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมของทศวรรษหน้า ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
อนาคต, การศึกษา, เด็กที่มีภาวะออทิสซึมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพและเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในทศวรรษหน้าของประเทศไทย โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างไม่จำกัดคำตอบและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมมีความคิดเห็นสอดคล้องกันและเห็นด้วยกับภาพอนาคตอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งแปดด้าน ได้แก่ (1) ด้านภาพอนาคตเชิงนโยบายรัฐ (2) ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยก่อนเข้าเรียน (3) ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระบบโรงเรียน (4) ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมนอกระบบโรงเรียน (5) ด้านอาชีพและการดำรงชีวิตของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม (6) ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม (7) ด้านความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม และ (8) และด้านปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ และนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสู่สภาวการณ์ที่เหมาะสม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานการวิจัย ความทั่วถึงและเท่าเทียมของการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
กิ่งเพชร ส่งเสริม. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละชั้นที่มีเด็กที่ม่ความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ).
ชยานันท์ โคสุวรรณ์ และคณะ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 34 (96). หน้า 30-44.
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2018). เปิดโลกความรู้เด็กออทิสติกในสังคมไทย ผ่านสายตาของ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 จาก https://www.the101.world/daranee-interview/
ดุสิดา ทินมาลา. (2561). คุณลักษณะบัณฑิตครูการศึกษาพิเศษกับนโยบายการศึกษาไทย. วารสารราชพฤกษ์. 16 (1). หน้า 1-14.
ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: พี เอ อาร์ต พรินติ้ง.
วรรณี เจตจำนงนุช และคณะ. (2554). รายงานวิจัย เรื่อง มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิฐารณ บุญสิทธิ. (2559). โรคออทิสซึมสเปคตรัม. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์ และคนอื่นๆ (บรรณาธิการ). จิตเวช ศิริราช DSM-5 (พิมพ์ครั้งที่ 3 543-556). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
สถาบันราชานุกูล. (2555). เด็กออทิสติก คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม
2562 จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=52819&Key=
news_act
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา เรื่อง การพิจารณาความต้องการพิเศษเฉพาะบุคคลของนักศึกษาที่มีภาวะออทิสซึมและความบกพร่องที่ไม่เด่นชัด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
อภิชาติ วังตระกูล. (2550). จิตลักษณะและสถานการณ์ของมารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอบรมเลี้ยงดูบุตรออทิสติก. (ปริญญญานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
อาริสรา ทองเหม และประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. 6 (2). หน้า 21-36.
อัจศรา ประเสริฐสิน และอัญชลีพร ลพประเสริฐ. (2562). การสร้างแอปพลิเคชั่นการเรียนรู้คำศัพท์ผ่าน Flash Cards ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเขียนได้ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 36 (99). หน้า 41-53.
Autium Speaks. (2018). How Technology Can Help. Retrieved October 15, 2019, from https://www.autismspeaks.org/tool-kit-excerpt/how-technology-can-help
Bellinger, J. M.; Perlman, E. H.; & DiPerna, J. C. (winter 2011). Social Skills Intervention for Individuals with Autism Spectrum Disorder. The National Association of School Psychologists (NASP), School Psychology Forum: Research in Practice. 13(5). 141-159.