พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน : กรณีศึกษาวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา ขนิษฐา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

พัฒนาการ, การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, วิทยาลัยการบริหารและจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรในวิทยาลัยการบริหารและจัดการ และ
2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยการบริหารและจัดการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรของวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 33 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยการบริหารและจัดการ (AMC) สถิติที่ใช้คือสถิติพื้นฐาน ได่แก่ ค่าร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า

1) บุคลากรของวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกประเด็น
ข้อคำถามตั้งแต่ร้อยละ 60.60 โดยประเด็นระบบการพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ การวางแผน (Plan) การดำเนินงานและเก็บข้อมูล (Do) การประเมินคุณภาพ (Check) และการเสนอแนวทางปรับปรุง (Act) และกำหนดตัวบ่งชี้เป็น 2 ประเภท คือ ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพและตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ บุคลากรมีความเข้าใจ ร้อยละ 100

2) ทัศนคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในโดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความรู้สึกกระตือรือร้นและยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอย่างเต็มที่ และ การมองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมาก

3) การมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับ มาก

4) บทบาทของผู้บริหารสถาบันเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย โดยภาพรวม มีอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า บทบาทด้านการส่งเสริม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับ มาก

5) บทบาทของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยการบริหารและจัดการ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ที่เหมาะสม จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการประคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับ มาก

References

กัญญดา อนุวงศ์และพิชญ์ญาภัค เจียมจรัสโชค. (2553). ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฝ่ายประสาน ภารกิจและฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิมิต อิสระกุล. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุรพร กำบุญ. (2559). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา มหาวิทยากรุงเทพธนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1746-1757.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2558). การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 10(1), มกราคม - มิถุนายน 2558.
ประจักษ์ ไม้เจริญ. (2545). เจตคติของข้าราชการครูสถาบันราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อ การประกันคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2560). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: เฮ้าส์ออฟเคอร์ มีสท์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2552). ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31