การเปรียบเทียบการเพิ่มความจำขณะทำงานของนักเรียนระดับประถมศึกษาระหว่างเพศ และระยะเวลาฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดลทริปเพิลโคด

ผู้แต่ง

  • วนิดา อุบลศักดิ์ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์ หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความจำขณะทำงาน, โปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดลทริปเพิลโคด, นักเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความจำขณะทำงานระหว่างเพศและระยะเวลาฝึกของนักเรียนระดับประถมศึกษา และเพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระยะเวลาฝึกหลังฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดล
ทริปเพิลโคด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านรัตนะ จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นโปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดลทริปเพิลโคด แบบประเมินความจำขณะทำงาน Cosri Block และแบบทดสอบวัดความสามารถด้าน
เลขคณิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุแบบสองทาง (Two-way MANOVA)

            ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดลทริปเพิลโคด นักเรียนเพศชายและเพศหญิง
มีคะแนนเฉลี่ยความจำขณะทำงานด้วยแบบทดสอบ Corsi Block และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านเลขคณิตไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะเวลาฝึก 15 ชั่วโมง กับ 30 ชั่วโมง นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความจำขณะทำงานด้วยแบบทดสอบ Corsi Block และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านเลขคณิตไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระยะเวลาฝึกต่อคะแนนเฉลี่ยความจำขณะทำงานด้วยแบบทดสอบ Corsi Block และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านเลขคณิตปรากฏว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระยะเวลาฝึกต่อการเพิ่มคะแนนเฉลี่ยความจำขณะทำงานด้วยแบบทดสอบ Corsi Block และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านเลขคณิตหลังฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดลทริปเพิลโคด สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกเลขคณิตตามโมเดล ทริปเพิลโคดมีความเหมาะสมในการเพิ่มความจำขณะทำงานของนักเรียนระดับประถมศึกษาทั้ง เพศชายและเพศหญิง โดยสามารถใช้ระยะเวลาฝึกได้ทั้งแบบ 15 ชั่วโมง และ 30 ชั่วโมง

Author Biographies

พูลพงศ์ สุขสว่าง, หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ ดร. หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม

วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์, หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ ดร. หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม

วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กมลชนก ภาคภูมิ. (2561). การพัฒนาสื่อการสอนวีดิทัศน์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลด้วยโปรแกรม Camtasia Studio. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (97). 45-55.

บุราณี ระเบียบ และสุชาดา กรเพชรปาณี. (2559). การพัฒนาโปรแกรมฝึกการคิดเลขคณิตโดยประยุกต์ โมเดลทริปเพิลโคด สำหรับเพิ่มความจำขณะทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 14 (2). 102-113.

รัชกร โชติประดิษฐ์, เสรี ชัดแช้ม และปรัชญา แก้วแก่น. (2561). การเพิ่มความจำขณะทำงานด้านภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 16 (1). 1-18

วัฒนาวดี อัครเดชลือชา. (2556). ผลของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการบวกและการลบเลข จำนวนไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา. 30 (87). 72-82.

สุพิชฌาย์ ทนทาน และวไลพร เมฆไตรรัตน์. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11 (33). 143-158.

อนวัช คงประเสริฐ, พูลพงศ์ สุขสว่าง และศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์. (2561). การเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยเกมคอมพิวเตอร์โมเดลแอบสแตรกโคดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์. 5 (3). 529-545.

Alloway, T. P. Bibile, V., & Lau, G. (2013). Computrized working memory training: Can it lead to gains in cognitive skills in students?. Computer in Human Behavior. 29. 632-638.

Bergman-Nutley, S., & Klingberg, T. (2014). Effect of working memory training on working memory, arithmetic and following instructions. Psychological Research. 78 (6). 869-877.

Dahlin, E., NyBerg, L., Bäckman, L., & Stigsdotter-Neely, A. (2008). Plasticity of executive functioning in young and old adults: Immediate training gains, transfer, and long-term maintenance. Psychology and Aging. 23 (4). 720-730.

Dehaene, S. (1992). Varieties of numerical abilities. Cognition. 44 (1-2). 1-42.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods. California: Sage Publications.

Lindberg, S. M., Hyed, J. S., Petersen, J. L., & Linn, M. C. (2010). New trends in gender and mathematics performance: A meta-analysis. Psychological Bulletin. 136(6). 1123-1135.

Moe, A. (2018). Mental rolation and mathematics: Gender-stereotyped beliefs and relationships in primary school children. Learning and Individual Differences. 61. 172-180.

Mueller, S. T., & Piper, B. J. (2014). Thephychology experiment building language (PEBL) and PEBL test battery. Journal of Neuroscience Methods. 222. 250-259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01