การวิเคราะห์ความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล โมรา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิวะพร ภู่พันธ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จิตราภรณ์ บุญถนอม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, ความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความชุกของความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 480 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
               ผลการวิจัย พบว่า (1) องค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ ความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทางปัญญา ความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทางอารมณ์ และความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทางพฤติกรรม ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 0.55 ซึ่งมีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.45986 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1 มีค่า GFI เท่ากับ 0.999 มีค่า AGFI เท่ากับ 0.995 และมีค่า RMR เท่ากับ 0.00175 และ (2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในกลุ่มปานกลางมากที่สุด มีจำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 48.96 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3.27 สำหรับจำนวนนักเรียนที่มีความยึดมั่นผูกพันต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในกลุ่มต่ำและกลุ่มสูง มีจำนวนใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มต่ำ มีจำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 25.63 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.56 และกลุ่มสูง มีจำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 25.41 และมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.86

References

ณัฐริกา สิทธิชัย, พินดา วราสุนันท์, วิชา อุ่นวรรณธรรม, แสงเดือน เจริญฉิม และ วสันต์ เดือนแจ้ง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 93-109.

ณัฐวัฒน์ มะลิวรรณ. (2556). การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การวิเคราะห์พัฒนาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธมลวรรณ นวลใย, ศิวะพร ภู่พันธ์ และ กมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 160-173.

นพมาศ ว่องวิทยสกุล. (2557). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การทดลองแบบอนุกรมเวลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกช วงศ์หล่อสายชล. (2555). กลยุทธ์การสร้างความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนของนักเรียนจากการ วิเคราะห์เอสอีเอ็ม: การพัฒนาและการนำไปปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุวดี พันธ์สุจริต. (2554). การวิเคราะห์โมเดลทางเลือกของความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน O-NET. กรุงเทพมหานคร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซลพับลิเคชั่น จำกัด.

สุชาดา บวรกิติวงศ์. (2548). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ayub, A., Suraya A., Mahmud, R., Salim, N. & Sulaiman, T. (2017). Differences in students’ mathematics engagement between gender and between rural and urban schools. AIP Conference Proceedings. 1795 (1). 020025-1 – 020025-6. DOI: 10.1063/1.4972169

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30