การพัฒนาคู่มือการจัดบริการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ณุติ เอมบ้านกวย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิตตินันท์ บุญสถิรกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรกฎา นักคิ้ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาคู่มือ, การจัดบริการแนะแนวอาชีพ, กิจกรรมแนะแนวอาชีพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดบริการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างคู่มือการจัดบริการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลเพื่อการสร้างคู่มือประกอบด้วยครูแนะแนวจำนวน 3 คน ดำเนินการคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา ทั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากครูแนะแนวโดยการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การประเมินคู่มือการจัดบริการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งคู่มือฯ ได้รับการประเมินผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแนะแนวทั้งหมด 3 คน ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ คือ แบบประเมินความเหมาะสมในการนำคู่มือไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือฯ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดบริการและกิจกรรมแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตอนที่ 2 แนวทางการจัดบริการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ตอนที่ 3 แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพในชั้นเรียนสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมในการนำคู่มือไปใช้จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสรุปผลการประเมินได้ดังนี้ (1) ภาพรวมของการนำคู่มือฯ ไปใช้ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด (2) แนวทางการจัดบริการแนะแนวอาชีพฯ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพในชั้นเรียนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรกฎา นักคิ้ม และ ปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2561, 18-19 ตุลาคม). การพัฒนาหนังสือประกอบการจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 9 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม” พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนยุทธศาสตร์การแนะแนวระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

________. (2555). แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเตรียมความพร้อมกลุ่มความถนัดทางสาขาวิชาและอาชีพใน การเรียนต่อระดับอุดมศึกษา. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติธัช อ่ำพันธ์. (2564). ผลการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อพัฒนาการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารวัดผลการศึกษา, 38(104), 118-130.

กิติยา แก้วผุดผ่อง, ญาณิศา บุญจิตร์ และบรรจง เจริญสุข. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการลูกเสือในโรงเรียน ประถมศึกษาเครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุนพิม 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 351-365.

จตุรพร ลิ้มมั่นจริง. (2556). พัฒนาการทางอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2564). การแนะแนวด้านอาชีพและการสร้างความเข้าใจตนเองสำหรับนักเรียนระดับมัธยมตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(2), C1-C10.

ณฐพัฒน์ ถุงพลอย. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 49-61.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). แนะแนวอาชีพ. บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2554). การประเมินโครงการ. มหาวิทยาลัยราคำแหง.

ปภานันท์ ฟักเจริญ และปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2564). ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวตามขั้นตอนการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนคนินทราบรมราชนนี. วารสารวัดผลการศึกษา, 38(104), 95-105.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2550). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลัยวัลล์ พุ่มพึ่งพุทธ. (2554). ศึกษาการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). ระบบแนะแนวในโรงเรียน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2559). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. (2562). เทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์คู่มือปฏิบัติงาน. https://science.swu.ac.th

Agusrini Najamatussyifa Ritonga and Muhammad Nur Wangid. (2022). Career Guidance Services to Take Student Career Choice Decision. European Journal of Education Studies, 9(6), 105-112.

M.D. Malinda and J.M. Mandyata. (2021). Role of Career Guidance in the Preparation of Secondary School Pupils for Tertiary Education in Luanshya District, Zambia. European Journal of Education Studies, 8(2), 181-205.

Otawine, A.T., Matagi, L., Kiweewa, J.M., & Ainamaani, H.E. (2022). Efficacy of career guidance and counselling among secondary schools in Uganda. African Journal of Career Development, 4(1)a 55. http://doi.org/10.4102/ajcd.v4i1.55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05