การพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ความฉลาดรู้การเงิน, ความรู้ทางการเงิน, เจตคติทางการเงิน, พฤติกรรมทางการเงินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนในโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 940 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบวัดความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน การทดสอบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เชิงยืนยัน พบว่า 1) ความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเงิน เจตคติทางการเงิน และพฤติกรรมทางการเงิน รายละเอียด 14 ตัวชี้วัด และรายการวัด 2 แบบ คือ แบบสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ รวมถึงแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ รวมทั้งหมดจำนวน 50 ข้อ
2) แบบวัดมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และ 3) ผลจากการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้การเงิน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้การเงินสูงกว่ากลุ่มนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสพฐ.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดล พบว่า โมเดลแบบวัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 42.25, df =32, p = 0.11, GFI = 0.99, AGFI = 0.98,
RMR = 0.01, และ RMSEA = 0.02
References
กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว, กิตติชัย สุธาสิโนบล, และวิไลลักษณ์ ลังกา. (2565). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 146-162.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). จำนวนนักเรียนในระบบโรงเรียนจำแนกตามสังกัดระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. http://www.mis.moe.go.th.
ขวัญธิศศรา อภิสุขสกุล, มนตา ตุลย์เมธาการ, และอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2565). การวิเคราะห์ขอบเขตเนื้อหาความ รอบรู้ทางการเงินสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 241-257.
จิดาภา ศิริพรรณ และศิริเดช สุชีวะ. (2565). การพัฒนาแบบวัดกริท (Grit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 39(106), 201-211.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2561. ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินแห่งประเทศไทย.
ธีรภัทร สุดโต. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(96), 1-14.
ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล. (2562). การพัฒนาต้นแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต : การประยุกต์ใช้โมสต์และสมาร์ท [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล, วรรณี แกมเกตุ, และชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ. (2564). การวิเคราะห์โปรไฟล์กลุ่มแฝงพฤติกรรมทางการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(1), 135-152.
ประกายแก้ว ไกรสงคราม และสุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางการเงินของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 27-40.
สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยชุดความฉลาดรู้ (literacy). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
Agawalla, S. K., Barua, S. K., Jacob, J., & Varma, J. R. (2015). Financial literacy among working young in urban India. World Development, 67, 101-109.
Atkinson, A., & Messy, F. (2012). Measuring financial literacy: results of the OECD/International Network on Financial Education (INFE) Pilot Study. OECD Working Papers on Finance, Insurance and Private Pensions, No. 15, OECD Publishing, Paris.
Jin, M., & Chen, Z. (2020). Comparing financial socialization and formal financial education: Building financial capability. Social Indicators Research, 149(2), 641-656. doi: 10.1007/s11205-019-02248-z.
Jorgensen, B. L., & Savla, J. (2010). Financial literacy of young adults: The importance of parental socialization. Family Relations, 59(4), 465-478.
OECD. (2016). PISA 2015 Assessment and analytical framework: Science, reading, mathematics and financial literacy. Paris: OECD Publishing.
OECD/INFE. (2011). Measuring Financial Literacy: Core Questionnaire in Measuring Financial Literacy: Questionnaire and Guidance Notes for conducting an Internationally Comparable Survey of Financial literacy. Paris: OECD Publishing.
Pongchai, Y., Jantakoon, J., & Onthanee, A. (2023). The Development of Economics Learning Activities by Using Online Coaching Process During COVID-19 Crisis to Enhance Financial Literacy for Eight Grade Student. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 43-60.
Schuhen, M., & Schürkmann, S. (2016). Construct validity with structural equation modelling. In C. Aprea, E. Wuttke, K. Breuer, N. K. Koh, P. Davies, B. GreimelFuhrmann, & J. S. Lopus, (Eds.), International handbook of financial literacy. Springer Science + Business Media Singapore.