ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหอวัง
คำสำคัญ:
กิจกรรมแนะแนว, ทฤษฎีพหุปัญญา, ทักษะชีวิตและอาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานระหว่างก่อนจัดกิจกรรมกับหลังจัดกิจกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิติและอาชีพที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยใช้ทฤษฎี
พหุปัญญาเป็นฐานระหว่างก่อนจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
จำนวน 50 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน
2) แบบทดสอบความรู้ 3) แบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพมีผลต่อเป้าหมายอาชีพในอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ทักษะชีวิตและอาชีพที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก
References
กรนันท์ โนรินทร์. (2559). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 14-24.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2545 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. สยามสปอรต์ซินดิเคท.
เกศสุดา แสนนามวงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 91-98.
คณะกรรมาธิการนานาชาติ. (2541). รายงานเสนอต่อยูเนสโก: การเรียนรู้ขุมทรัพย์ในตน. คุรุสภาลาดพร้าว.
ชลชญา เต็มนอง. (2557). ศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามทฤษฎีพหุปัญญาที่เน้นสติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดห้วยไผ่ จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].
ณัชปภา โลหะกิจและฐิติรัตน์ สุวรรณ. (2560). ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 94-112.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ทฤษฎีพหุปัญญา. https://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple-intelligence.html
พนม ลิ้มอารีย์. (2548). การแนะแนวเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ยุภาวรรณ์ ปริตวา (2561). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด อย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 201-214.
รมณภัทร กตตน์วงกร. (2557). ศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ) สำนักงานภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). ศึกษาการพัฒนาเยาวชนไทยระดับประถมศึกษาโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะพหุปัญญา เพื่อ ส่งเสริมความเป็นพลเมืองอาเซียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 401-418.
ศักดิ์ศรี สืบสิงห์และเฉลิมพร สืบสิงห์. (2560). ศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดพหุปัญญา เรื่อง ไฟฟ้าสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 101-109.
Gardner, H. (2011). Frames of mind: the theory of multiple intelligences (10th ed.). Basic Books.
WHO. (1994). Life skill Education for Children and Adolescents in Schools. WHO.