การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • วิสรุต สุวรรณสันติสุข คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กนิษฐ์ ศรีเคลือบ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เครื่องมือประเมิน, ความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู และวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู ตัวอย่างวิจัยคือ นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 350 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกและในลักษณะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยงและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผลการวิจัย พบว่า

  1. เครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู มีลักษณะเป็นข้อคำถามประกอบคลิปวีดิโอจำนวน 4 คลิป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแห่งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งในมลรัฐอลาสกา ภาพจากดาวเทียมบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และใช้แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
  2. เครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.08 ถึง 0.84 โดยข้อคำถามที่อยู่ในช่วงระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 มีจำนวน 23 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง -0.07 ถึง 0.71 โดยมีข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกเกิน 0.2 จำนวน 21 ข้อ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.71 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.68

           

  1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = (18, N = 350) = 14.17 , p = .080, GFI= .981, AGFI = .961, RMSEA = .039, SRMR = .036)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 28-42.

สมกิจ กิจพูนวงศ์. (2557). การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบด้วยโปรแกรม JEMS. วารสารการวัดผลการศึกษา, 30(87), 20-31.

สรัญยา บุญมาก, ประเสริฐ มงคล, มาเรียม นิลพันธ์ และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 201-212.

แสงจันทร์ เรืองอ่อน, สมพร เรืองอ่อน, สุนิษา คิดใจเดียว, ปฐมพงษ์ ฉับพลัน และ พบศิริ ขวัญเกื้อ. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 8-17.

Bascom, J. (2011). Geographic literacy and moral formation among university students. Review of International Geographical Education Online, 1(2), 92-112.

Brown, K. T., & Richards, A. (2015). Critical intersections of knowledge and pedagogy: Why the geographic literacy of preservice elementary teachers matter? Review of International Geographical Education Online, 5(3), 249-273.

Dikmenli, Y. (2014). Geographic literacy perception scale (GLPS) validity and reliability study. Mevlana International Journal of Education, 4(1), 1–15.

Kamburov, A., Slavova, T., Nemska, T., & Karshev, D. (2016). Enhancing geo-literacy: Cloud-based GIS as innovative informal educational tools. Proceeding of 6th International Conference on Cartography and GIS, Bulgaria, 1, 210-231.

Memişoğlu, H. (2017). Opinions of teachers and preservice teachers of social studies on geo-literacy. Academic Journal, 12(19), 967-979.

Misheck, M., Erza, P., & Mandoga, E. (2013). Geographic literacy and world knowledge amongst open distance learning students in Zimbabwe. Greener Journal of Educational Research, 3(7), 301-309.

NASA. (2021). Overview: Weather, Global Warming and Climate Change. https://climate.nasa.gov/resources/global-warming-vs-climate-change/

NRDC. (2016). Global Warming 101. https://www.nrdc.org/stories/global-warming-101

Lane, R., & Bourke, T. (2017). Possibilities for an international assessment in geography. International Research in Geographical and Environment Education, 26(1), 71-85.

Pettit, C. J., Cartwright, W., & Berry, M. (2006). Geographical visualization: A participatory planning support tool for imagining landscape futures. Applied GIS, 2(3), 22-1.

Soper, D.S. (2021). A-priori sample size calculator for structural equation models. [Software]. https://www.danielsoper.com/statcalc

Turner, S., & Leydon, J. (2012). Improving geographic literacy among first year undergraduate students: Testing the effectiveness of online quizzes. Journal of Geography, 111(2), 54-66, https://doi.org.10.1080/00221341.2011.583263

UNESCO. (2021). Climate Change Education and Awareness. https://en.unesco.org/themes/addressing-climate-change/climate-change-education-and-awareness

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05