ผลการใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกรในนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลอำเภอลำสนธิ (บ้านหนองรี)

ผู้แต่ง

  • ญาศินี ชัยรัตนมโนกร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ดนตรีบำบัด, เบี้ยอรรถกร, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกรในนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม Conners’ Teacher Rating Scale แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และโปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกร เป็นเครื่องมือวิจัย แบบสัมภาษณ์มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 โปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกรประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 12 กิจกรรม โดยใช้เวลาในการทำกิจกรรมครั้งละ 30 นาที จำนวน 12 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 8 – 31 มีนาคม 2564 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.90 กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 4 คน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 คน วิเคราะห์พฤติกรรมก้าวร้าวจากคะแนนมาตรฐานที (T Score) ที่ได้จากการทำแบบประเมินพฤติกรรม และการสัมภาษณ์ครูประจำชั้น

            ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนให้ลดน้อยลงได้ และบางคนไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเหลืออยู่ เห็นได้จากผลคะแนนมาตรฐานที จากแบบประเมินพฤติกรรม ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมดนตรีบำบัดและเบี้ยอรรถกร ผลคะแนนมาตรฐาน ที พบว่า นักเรียนคนที่ 1, 2, 3, และ 4 ลดลงโดยมีคะแนน 46, 50, 52, และ 67 คะแนนตามลำดับ เห็นได้ว่า นักเรียนคนที่ 1, 2, และ 3 มีระดับปัญหาพฤติกรรมลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนนักเรียนคนที่ 4 ลดลงมา 1 ระดับ คือ ลดจากระดับสูงมากมาอยู่ในระดับสูง

References

กรวิกา โสรัจจะวงค์ และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรและการ เสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม กรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 178-188.

จิรภรณ์ อังวิทยาธร. (2560). ดนตรีบำบัด. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/395/ดนตรีบำบัด/

ทิพภา ประเสริฐกุล. (2553). การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเบี้ย อรรถกร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ธนพล อุควงศ์เสรี และ ชัยชนะ นิ่มนวล. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนมัธยมปลายชายล้วนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทร์วิโรฒ, 23(2), 1-19.

ประภาพร ฉายาวาศ. (2556). ผลการปรับพฤติกรรมก้าวร้าวและก่อกวนในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 30(88), 41-47.

ภราดร ยิ่งยวด, อาภาพร เผ่าวัฒนา และ นฤมล เอื้อมณีกูล. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กชาย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 10-20.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). การปรับพฤติกรรม: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้และวิจัย. ซีเอที. โซลูชั่น.

มุขรินทร์ ทองหอม, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์, และจินตนา ดำเกลี้ยง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยภายหลังบาดเจ็บสมอง การเผชิญปัญหากับภาระการดูแลของญาติผู้ดูแล. วารสารพยาบาล โรคหัวใจและทรวงอก, 30(1), 74-88.

รัชดา แสงพุก และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 14-27.

วิชญ์ บุญรอด, พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์ และ ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์. (2561). ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : ชุมชนหนองแวงตราชู 2 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 46-67.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ จำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้ง พ.ศ. 2549 – 2558. http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.html

อัญชลี ชุ่มบัวทอง, จันทนา ยิ้มน้อย และ ชษาพิมพ์ สัมมนา. (2560). ดนตรีบำบัด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 3(2), 77-87.

American Music Therapy Association. (2006). Music therapy and Mental Health. https://www.musictherapy.org/about/history/

Bandura, A. (2015). Aggression: A social learning analysis. International Psychotherapy Institute.

Conners C. (2001). Conners’ Rating Scales: Revised technical manual. Multi-Health Systems.

Coyne, S.M., Nelson, D.A. and Underwood, M. (2010). Aggression in Children. In The Wiley-Blackwell Handbook of Childhood Social Development. Blackwell Publishing Ltd.

Epelde-Larrañaga, A., J. A. O. Ramírez, and L. I. Estrada-Vidal. 2020. Music as a Resource Against Bullying and Cyberbullying: Intervention in two Centers in Spain. Sustainability, 12(5), 1-13.

Garofalo, C., Gillespie, S.M., and Velotti, P. (2019). Emotion regulation mediates relationships between mindfulness facets and aggression dimensions. Aggressive Behavior, 46, 60-71.

Hobbs, L. M. (2014). A study of the impact of non physical aggression in U.S. Organizations: A contribution to the taxonomy of non physical aggression [Doctoral dissertation, Fielding Graduate University].

Kazdin, A. E. (2016). Token economy. International Psychotherapy Institute.

Matson, J. L., J. A. Estabillo, and M. Matheis. (2016). Token Economy. Encyclopedia of Personality and Individual Differences, 1, 1-3.

McLeod, S. A. (2018a). Skinner - operant conditioning. Simply Psychology. https://www.simplypsychology.org/operant-conditioning.html

McLeod, S. A. (2018b, June 06). Jean piaget's theory of cognitive development. Simply Psychology. vhttps://www.simplypsychology.org/piaget.html

Meltzer, C. L. (2015). The association between reactive agression and psychopathic traits and the impact of negative affectivity (Order No. 1590215) [Master’s thesis]. ProQuest Dissertations & Theses Global.

Murrock CJ, Higgins PA. (2009). The theory of music, mood and movement to improve health outcomes. J Adv Nurs, 65(10), 2249-2257.

Roden, Ingo & Zepf, Florian & Kreutz, Gunter & Grube, Dietmar & Bongard, Stephan. (2016). Effects of music and natural science training on aggressive behavior. Learning and Instruction, 45, 85-92.

The British Psychological Society and The Royal College of Psychiatrists. (2015). Violence and Aggression Short-term management in mental health, health and community settings. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK305020/

Yassine, J. and L. A. Tipton-Filser. (2021). “Independent Contingency and Token Economy at Recess to Reduce Aggression.” Contemporary School of Psychology, 1, 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05