นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแก บนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย

ผู้แต่ง

  • พัทธ์รดา ยาประเสริฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการให้การปรึกษา, กลยุทธ์เชิงบวก, การถูกรังแกบนโลกไซเบอร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.) พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์เชิงบวก
ในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย และ 2.) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมจำนวน 1 กลุ่ม ซึ่งมีความสมัครใจในการเข้าร่วม
การทดลองและมีค่าเฉลี่ยคะแนนกลยุทธ์เชิงบวกตั้งแต่ระดับต่ำลงมา เครื่องมือที่ใช้ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย และนวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น และ 2) นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านการให้ความรู้แบบออนไลน์ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า

  1. นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น ดำเนินการให้การปรึกษา จำนวน 10 ครั้ง ในแต่ละครั้งใช้เวลา 60-90 นาที และ 2) นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านการให้ความรู้แบบออนไลน์ จำนวน 10 บทเรียน โดยใช้การเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์
  2. ผลการศึกษานวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น มีคะแนนกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น มีคะแนนกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านการให้ความรู้แบบออนไลน์ มีคะแนนกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านการให้ความรู้แบบออนไลน์ มีคะแนนกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลก
    ไซเบอร์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ธนัชพร สุทธิศันสนีย์, บัวทอง สว่างโสภากุล และสุรินทร์ นิยมางกูร. (2565). การศึกษาความรู้ต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(106), 50-62.

ธันยากร ตุดเกื้อ. (2560) .รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีการจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 221-234.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). สาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์: กรณีศึกษาเยาวชนไทยผู้ถูกรังแก. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 260-273.

พนิดา โตบุญเรือง เพ็ญนภา กุลนภาดล และวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ .(2565).รูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 188-200.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2565). การปรึกษาครอบครัว (Family counseling). เนติกุลการพิมพ์.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุกวิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง, วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 275-289.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560) การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 25(4), 639-648.

สุลักขณา ใจองอาจ และ ปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. วารสารการวัดผล การศึกษา, 35(98), 38-53.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

Chen, S. (2020). An online solution focused brief therapy for adolescent anxiety during the novel coronavirus disease (COVID-19) pandemic: a structured summary of a study protocol for a randomised controlled trial. Trials, 21(1), 1-2.

Corey, G. (2013). Student manual for theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Belmont, CA: Brooks/Cole, Cengage Learning.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Foody, M., Mathanna, S., Carlbring, P. (2015). A review of cyberbullying and suggestions for online psychological therapy. Journal of Internet Interventions, 1, 1-8.

Kim, J. N., Park, S. C., Yoo, S. W., & Shen, H. (2010). Mapping health communication scholarship: Breadth, depth, and agenda of published research in health communication. Health communication,

(6-7), 487-503.

Nitinunnaruemit A., Srisawat P., & Voracharoensri S. (2021). Enhancement of Coping Skills with Cyber – Bullying of Students through Integrative Group Counseling. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 27(2). 63-105.

Parris, L., Varjas, K., Meyers, J., & Cutts, H. (2012). High school students’ perceptions of coping with cyberbullying. Youth & society, 44(2), 284-306.

Perren, S., Corcoran, L., Cowie, H., Dehue, F., Mc Guckin, C., Sevcikova, A., ... & Völlink, T. (2012). Tackling cyberbullying: Review of empirical evidence regarding successful responses by students, parents, and schools. International Journal of Conflict and Violence (IJCV), 6(2), 283-292.

Sticca, F., Machmutow, K., Stauber, A., Perren, S., Palladino, B. E., Nocentini, A., ... & Guckin, C. M. (2015). The coping with cyberbullying questionnaire: Development of a new measure. Societies, 5(2), 515-536.

Tetteh, A., Awaah, F., & Addo, D. (2023). Perception of cyberbullying among students: the study of a developing country. Journal of Aggression, Conflict and Peace Research, 15(2), 163-180.

Weber, N. L., & Pelfrey Jr, W. V. (2014). Cyberbullying: Causes, consequences, and coping strategies. LFB Scholarly Publishing LLC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05