การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและแบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

  • วรัมภา หวังสุข วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • วลัยพรรณ บุญมี วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ความคิดสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรี

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และแบบร่วมมือ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และแบบร่วมมือ 5) ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 6) ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน 60 คน โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที ทั้งแบบ t-test Dependent Samples และ t-test Independent Samples

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กับนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กับนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554-2556. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. อรุณการพิมพ์.

กิตติศักดิ์ บุญทอง. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคทีมเกมแข่งขัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 43-58.

ฐิรภัทร อภิชิตตระกูล. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความสามัคคี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101). 60-72.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2548). สังคีตนิยม : ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตวงรัตน์ ศรีวงษ์คล. (2552). การพัฒนาเว็บท่าการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรู๊ป.

ธราพงษ์ ทองกระจ่าง. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องดนตรีสากลประเภทกระทบและเครื่องลิ่มนิ้วสำหรับนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://elsd.ssru.ac.th/tharapong_th/

นิตยา วงศ์ชู. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เรื่อง การวาดภาพระบายสี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ปุณญนุช ไชยมูล. (2550). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายโดยใช้กิจกรรมตามแนวพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องนาฏศิลป์ไทยพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรี และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. พริกหวานกราฟฟิค.

ศิริพร ทุเครือ. (2544). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 [ปริญญานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ].

สุพัตรา ฤกษ์บ่าย. (2544). ผลของการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือและการใช้สัญญาเงื่อนไขที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ].

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. พริกหวาน กราฟฟิคจำกัด.

สุวิทย์ และ อรทัย มูลคำ. (2546). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. ภาพพิมพ์.

อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์. โรงพิมพ์ข้าวฟ่าง.

Barbara Waha & Kate Davis. (2014). University students’ perspective on Blended Learning. Journal of Higher Education Policy and Management.

Berrett, D. (2012). How ‘Flipping’ the classroom can improve the traditional lecture. The Education Digest.

Bonk, C.J., & Graham, C.R. (2006). Handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. Pfeiffer Publishing.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1987). Learning Together and Alone: Cooperative, Competitive and Individualistic Learning. Prentice-Hall.

Joey F. George. (2006). Essentials of Systems Analysis and Design (3rd ed.). Prentice Hall.

Keefe, J. W. (2007). What Is Personalization?. The Phi Delta Kappan.

Sharan, S. (Ed.). (1990). Cooperative learning, theory and research. Praeger.

Smaldino, S. E., Lowther, D. L., & Russell, J.W. (2012). Instructional technology and media for learning (10th ed.). MA.Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05