ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นันทัชพร ลี้ตระกูล วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฏ ณ สุนทร วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • วลัยพรรณ บุญมี วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ทักษะการพูด, หุ่นมือ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดคำศัพท์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือ 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดเป็นประโยคของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดเป็นเรื่องราวของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนมินเดอร์พัฒนาศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน แขวงประเวศ เขตประเวศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 11 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือ จำนวน 12 แผน และ แบบทดสอบวัดทักษะการพูด ซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ทักษะการพูดคำศัพท์ ตอนที่ 2 ทักษะการพูดเป็นประโยค ตอนที่ 3 ทักษะการพูดเป็นเรื่องราว สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบ t-test for dependent samples

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะการพูดคำศัพท์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการพูดเป็นประโยคของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ทักษะการพูดเป็นเรื่องราวของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หุ่นมือสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย : Yes or No??. https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/2017/05/26/ส-อเทคโนโลย-สำหร-บเด-กปฐมว-ย-yes-or-no

ชนิพรรณ จาติเสถียร, กันตวรรณ มีสมสาร, และ อภิรดี ไชยกาล. (2560). การส่งเสริมความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. พลัสเพรส.

ธนิษฐา แจ่มอุทัย, สุพจน์ เกิดสุวรรณ์, และ ทองปาน บุญกุศล. (2564). ทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์ของ นักเรียนระดับชั้นปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 165-173.

วรัญญา ศรีบัว. (2560). การนำหุ่นมาใช้กับเด็กปฐมวัย. เอกสารประกอบการสอนวิชา นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิจิตรตา โป๊ะฮง และ สุพัตรา ฟักอ่อน. (2564). การพัฒนาสื่อโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 195-204.

เวิร์คพอยท์นิวส์. (2564). โควิด-19 ทำเด็กติดมือถือ เสี่ยงกระทบพัฒนาการ. https://covid19-admin.workpointnews.com/โควิด-19-ทำเด็กติดมือถือ-เ/

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2543). ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สมศรี ปาณะโตษะ (2551). ความสามารถทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์หุ่นร่วมกับผู้ปกครองอาสา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (2562). พบเด็กไทยมีภาวะพูดช้ามากขึ้นเพราะเล่นมือถือ. https://news.thaipbs.or.th/content/287442

อรชุมา ยุทธวงศ์. (2527). การแสดงหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณกรรมและลีลาคดีระดับปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

Greensmith, A. (2012). Puppets in Education. https://creativityinstitute.com/pages/puppets-in-education

Remer, R., & Tzuriel, D. (2015). "I Teach Better with the Puppet"- Use of Puppet as a Mediating Tool in Kindergarten Education – an Evaluation. American Journal of Educational Research, 3(3), 356-365.

Zuljevic, V. (2005). Puppets – A Great Addition to Everyday Teaching. Thinking Classroom, 6(1), 37-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05