การประเมินผลโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกรมการพัฒนาชุมชน
คำสำคัญ:
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การประเมินโครงการ, กรมการพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ประเมินความพึงพอใจจากการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 3) ศึกษาตัวอย่างความสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้นำชุมชน จำนวน 360 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้นำชุมชน จำนวน 43 คน ที่ได้รับเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้
ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.25, SD = 0.63) 2) ผลประเมินความพึงพอใจจากการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.25, SD = 0.62) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ความพร้อมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับติดตามของกรมการพัฒนาชุมชน และโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
References
กชกร เดชะคำภู และ ทิพาภรณ์ หอมดี. (2560). กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่สาธารณะ “หาดเห่” เกาะกลางแม่น้ำโขง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(5), 347-360.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). ค่านิยมองค์กร. https://cdd.go.th/related-links/บริการภายใน/about-us/ethics.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2564. https://rb.gy/5jt1ga
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ธิติยา ทองเกิน. (2564). การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(2), 45-60.
นันธิดา จันทร์ศิริ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 17(1), 79–98.
นิภาพร ปานสวัสดิ์. (2562). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้นําชุมชนเพื่อสันติภาพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1502-1545.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). กถาพัฒนากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมการพัฒนาชุมชน.
นุช สัทธาฉัตรมงคล และ อรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182
ไฟศอล มะหะมะ, พงค์เทพ สุธีวุฒิ และซอฟียะห์ นิมะ. (2562). การสร้างรูปแบบนวัตกรรมชุมชนของโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14(1), 39-51.
วรรณพงค์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
วัชรินทร์ อินทรพรหม. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 278-289.
สานิตย์ หนูนิล. (2562).อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร : แนวคิด และการประยุกต์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 63-74.
สุพัตรา วัชรเกตุ. (2557). ผู้นำ : ในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 44-49.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา: จุดประกายความคิดใหม่. ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอคอนพริ้นติ้ง.
อัศวิน หนูจ้อย. (2559). การพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้. ธรรมทรรศน์, 16(2), 23-31.
Abernethy, K.E., Bodin b, O., Olsson b, P., Hilly, Z. and Schwarz, A. (2014). Two steps forward, two steps back: The role of innovation in transforming towards community-based marine resource management in Solomon Islands. Global Environmental Change. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0959378014001356
Lodico, M., Spaulding, D. &Voegtle, K. (2010).Methods in educational research: From Theory to practice(2nd ed.). Jossey-Bass.