การพัฒนาแนวคิดการประเมินพหุสำหรับประเมินผลการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร สุดโต สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นวรินทร์ ตาก้อนทอง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แนวคิดการประเมินพหุ, การส่งเสริมค่านิยม, ค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ (1)เพื่อพัฒนาแนวคิดการประเมินพหุสำหรับประเมินการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (2) เพื่อประเมินผลการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวคิดการประเมินพหุสำหรับประเมินการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์รูปแบบการประเมินโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมค่านิยมต่าง ๆ การสัมภาษณ์ครู 6 คน กับนักเรียนจำนวน 18 คน จาก 6 โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน เพื่อร่างรูปแบบการประเมินพหุแนวคิด โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกจากเกณฑ์การคัดเลือกแนวคิดทางการประเมินของ Hansen (2005) มีข้อพิจารณา 3 ประการ ได้แก่ (1) จุดมุ่งหมายของการประเมิน (2) ลักษณะของสิ่งที่ประเมิน และ (3) ปัญหาที่ต้องการแก้ไขด้วยการประเมิน โดยผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดการประเมิน 3 แนวคิด ได้แก่ (1) การประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (2) การการประเมินความต้องการจำเป็น (3) การประเมินรูปแบบ IPO มาใช้ร่วมกัน จากนั้นตรวจความเหมาะสมโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การประเมินการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 473 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00  มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.78-0.97 ใช้การวิเคราะห์โดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบียนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1)การประเมินพหุแนวคิดสำหรับการประเมินโครงการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 7 ตัว และ (2) ผลการประเมินการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

กรวี ศรีกิจการ. (2545). การประเมินนโยบาย/โครงการ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กาญจนา ค้ายาดี. (2553). การพัฒนารูปแบบการประเมินการฝึกอบรมข้าราชการทหารของกองทัพอากาศ: การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินพหุ [วิทยนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2529). วิทยากรกับการปลูกฝังและสร้างเสริมค่านิยม. คุรุสภาลาดพร้าว.

ชญานิศวร์ กุลรัตนมณีพร และคณะ. (2555). การเสริมสร้างค่านิยม:การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการวิจัยด้านค่านิยมไทยในอนาคต (รายงานผลการวิจัย). กระทรวงวัฒนธรรม.

ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เมธีทิปส์ จำกัด.

บุญทนากร พรมภักดีป, และ ระกฤติยา ทักษิโณ. (2558). การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรสังกัดกรมควบคุมโรค:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด, วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 22(1), 98-113.

ปิยพงษ์ คล้ายคลึง. (2556). การพัฒนาทฤษีโปรแกรมสำหรับประเมินความสำเร็จของการนำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาโดยใช้วิธีอุปนัยและนิรนัย [วิทยนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

พล เหลืองรังษี. (2563). แนวทางการประเมินโครงการในโรงเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 118-125.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 227-237.

วรพร พิพัฒน์. (2564). การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจที่จะซื้อเครื่องสำอางพรีเมียม แบรนด์ผ่านโซเซียลมีเดียโดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 120-131.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการพัฒนาและประเมินค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2526). คู่มือปลูกฝังค่านิยม. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2549). ค่านิยมและสภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์ของสังคมไทยในสายตาเยาวชน. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). รายงานการวิจัยติดตามและประเมินการส่งเสริมค่านิยมของคนไทย. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2558). รายงานการพัฒนามาตรประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการสำหรับผู้เรียนอายุระหว่าง 12-14 ปี. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Beach D, and Pedersen R. (2013). Process-tracing method : foundations and guidelines. The University of Michigan Press.

Bledsoe, K., L Graham, and James A. (2005). The Use of Multiple Evaluation Approaches in Program Evaluation. American jounal of evaluation, 31.

Emily Massey. (2016). Evaluating financial education initiatives in South a Frica The importance of multiple evaluation approaches. African Evaluation Journal, 4(1), 125.

English, Cummings, and Straton. (2002). Principles for evaluating community crime prevention projects. Commonwealth Attorney General's Department.

Good, and Carter V. (1973). Dictionary of Education. McGraw-Hill Book.

Hansen M.B., and Vedung (2005). Evaluation of standardized classification system. Syddansk Universiteisforlag.

Hansen M.B. (2011). Theory-based stakeholder evaluation. American jounal of evaluation, 31, 295-313.

Katrina L. Bledsoe, and James A. Graham. (2005). The use of Multipre Evaluation Approaches in program Evaluation. American Journal of Evaluation, 6(3), 302-319.

Rokeach M. (1973). The nature of human values. The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05