ผลการให้คำปรึกษารายบุคคลแนวอัตถิภาวนิยมผสานกิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อคุณลักษณะ ทางอุดมคติตำรวจของพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9

ผู้แต่ง

  • บุศรัตน์ โชคบรรดาลสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิพร ครามานนท์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การให้คำปรึกษารายบุคคลแนวอัตถิภาวนิยม, กิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก, คุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจพนักงานสอบสวน, สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจของพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 ก่อนและหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษารายบุคคลแนวอัตถิภาวนิยมผสานกิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจของพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 ระหว่างผู้ที่ได้รับและผู้ที่ไม่ได้รับการให้คำปรึกษารายบุคคลแนวอัตถิภาวนิยมผสานกิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสอบสวน (สบ.1) สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 จำนวน 20 คน ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28-0.78 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 โปรแกรมคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจแนวอัตถิภาวนิยมผสานกิจกรรมเชิงจิตวิทยา มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติทดสอบวิลคอกสันและสถิติแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กลุ่มทดลองมีคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลองพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กลุ่มทดลองมีคุณลักษณะทางอุดมคติตำรวจกว่าพนักงานสอบสวน สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กชกร โฉมแพ. (2563). ภาวะเครียดของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(2), 113-124.

ชาญชัย ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2558). การเสริมสร้างความหมายในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ โดยใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มภาวนิยม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต].

รัชชัย ขยันทำ. (2564). พนักงานสอบสวนในอุดมคติของประชาชน. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-56.

สันติ ผิวทองคำ. (2564). ระบบสอบสวนคดีอาญาในบทบาทพนักงานสอบสวนที่เหมาะสมกับประเทศไทย. วารสารนิติศาสตร์, 50(3), 314-350.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลสถิติฐานความผิดคดีอาญาปี 2562. http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.htm

อุฬาร ชินอักษร. (2553). การขอโยกย้ายงานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

Bennell, C., Jenkins, B., Blaskovits, B., Semple, T., Khaizadeh, A., Brown, A. S., & Jones, N. J. (2022). Knowledge, Skills, and Abilities for Managing Potentially Volatile Police–Public Interactions: A Narrative. Review, 13, 1-16. doi:10.3389/fpsyg.2022.818009

Inzunza, M., & Wikstrom, C. (2020). European Police Recruits’ Views on Ideal Personal Characteristics of a Police Officer. Policing and Society, 30(10), 1243-1262. doi:10.1080/10439463.2019.1685514

Johnson, O., Russo, C., & Papazoglou, K. (2019). Job Exposure & Occupational Challenges: The Important of Mindfulness for Today’s Law Enforcement Professional. Crisis, Stress, and Human Resilience. An International Journal, 1(3), 187-191.

Mallah, J. A. (2016). Historical Roots and Basic Themes of Existential Philosophy: An Analysis. An International Journal of Interdisciplinary Studies, 1(2), 1-6.

Martin, R. M. (2019). Traits that make good police leaders: identify leadership potential during recruit selection. Forensic Research & Criminology International Journal, 7 (4), 237-241. doi:10.15406/frcij.2019.07.00287

Weisburd, D., Telep, C. W., Vovak, H., Zastrow, T., Braga, A. A., & Turchan, B. (2022). Reforming the police through Procedural Justice training: A multicity randomized trial at crime hot spots. Proceedings of the National Academy of Sciences, 119 (14), 1-13. doi:10.1073/pnas.2118780119

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05