ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา จำปามูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมปรารถนา ดาผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรรณชนก จันทชุม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขนิษฐา วรธงชัยุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัสดา ภักดีกำจร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วนิดา พิมทา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดาราวรรณ อักษรวรรณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุราวดี เจริญไชย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศศิธร ดวงมั่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลดาวัลย์ บูรณะปิยะวงศ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศจีมาส แก้วโคตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ผู้ป่วย, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย, คุณภาพการให้บริการทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาใน 7 หอผู้ป่วย ของแผนกศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับเหนือตติยภูมิ ขนาด 1,400 เตียง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยในหรือผู้ดูแลใกล้ชิดจำนวน 364 คน คัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ อายุเท่ากับหรือมากกว่า 18 ปี ผู้ป่วยนอนพักรักษาในหอผู้ป่วยมากกว่า 48 ชั่วโมง สติสัมปชัญญะดี อ่านออกเขียนได้ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากแต่ละหอผู้ป่วยตามจำนวนสัดส่วนที่คำนวณได้ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประสบการณ์ผู้ป่วย มีทั้งหมด 8 ด้าน 23 ข้อคำถาม ให้เลือกตอบ ค่าคะแนนจาก 1 (ไม่เลย) ถึง 4 (อย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง) ผ่านตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลภายหลังจากได้รับการอนุมัติ IRB ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2564 ถึง เดือนตุลาคม 2564 ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ป่วยร้อยละ 88.7 ให้คะแนนโรงพยาบาลมีคุณภาพในระดับดีที่สุด (คะแนน 9-10 จาก คะแนนเต็ม 10) ระหว่างนอนโรงพยาบาลได้รับการช่วยเหลือทันทีที่กดออดหรือเรียกขอความช่วยเหลือจากพยาบาล (82%) บริการที่ได้รับจากพยาบาล ดูแลด้วยความสุภาพอ่อนโยน ให้ความเคารพ (79.4%) บริการที่ได้รับจากแพทย์ดูแลด้วยความสุภาพอ่อนโยน ให้ความเคารพ (87.1%) ด้านสิ่งแวดล้อม บริเวณที่นอนพักมีความเงียบสงบในเวลากลางคืนทุกครั้ง (53.7%) ได้รับความช่วยเหลือในการพาไปห้องน้ำ หรือการใช้หม้อนอนขับถ่ายทุกครั้งเป็นส่วนใหญ่ (52.8%) กรณีที่ได้รับยาชนิดใหม่ มีการอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้ยา และอธิบายผลข้างเคียงของยาทุกครั้งเป็นส่วนใหญ่ (75.1%, 58.9% ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วยพยาบาลและบุคลากรของโรงพยาบาลควรเพิ่มคุณค่าของการบริการโดยตอบสนองความต้องการความไม่สุขสบายของผู้ป่วย เมื่อถูกร้องขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว จัดเวลาการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆ ในระหว่างเวลากลางคืนให้เหมาะสมเพื่อการพักผ่อนที่เงียบสงบของผู้ป่วย พยาบาลและแพทย์ควรให้เวลาในการอธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงของยาที่ได้รับเพิ่มโดยสม่ำเสมอ

References

ทรรศนันท์ ไทยอัฐวิถี และ อภิญญา จำปามูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(2), 198-204.

ปพน ณัฐเมธาวิน. (2558). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดความยึดมั่นผูกพันในงาน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(92), 13-26.

นวลพรรณ สูงสมสกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน และ เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ. (2564). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองสำหรับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลของผู้เยี่ยมสำรวจใหม่. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 108-119.

น้ำตาล แสนจันทร์ และ รัชตวรรณ ศรีตระกูล. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพเพื่อปรับปรุงประสบการณ์แก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 266-275.

รมิดา รุ่งประเสริฐ. (2559). พฤติกรรมการใช้บริการ การได้รับประสบการณ์ และความพึงพอใจต่อโปรแกรมการบริหารประสบการณ์ของลูกค้า และความตั้งใจใช้บริการของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

รื่นฤดี แก่นนาค และคณะ. (2561). ประสบการณ์การรับบริการของผู้มารับบริการแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง). ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(5): 38-44.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล และพงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์. (2561). ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่ายระบบประกันสุขภาพภาครัฐและขอใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่ (UCEP). วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 370-383.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). John Wiley and Sons.

Gröndahl, W., Muurinen, H., Katajisto, J., Suhonen, R., Leino-Kilpi, H. (2019). Perceived quality of nursing care and patient education: a cross-sectional study of hospitalized surgical patients in Finland. BMJ Open, 9(4), 1-9.

Irvin, Liz., & Merisalo, L. J. (2005). Health Care Registration: Forms, Checklists and Guidelines (2nd ed.). Aspen.

Larson, E. Sharma, J. Bohen, M.A. & Tuncalp, O. (2019). When the patient is the expert: measuring patient experience and satisfaction with care. Bull World Health Organ, 563-569.

The Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). (2015). CAHPS Clinician & group survey. https://www.ahrq.gov/cahps/surveys-guidance/cg/instructions/index.html>.

Zusman, E. E. (2012). HCAHPS replaces Press Ganey Survey as quality measure for patient hospital experience. Neurosurgery, 71(2), 21–24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05