ความคาดหวังของบุคลากรที่มีต่อบรรยากาศองค์การ
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, บรรยากาศองค์การบทคัดย่อ
การที่บุคคลใดได้เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การย่อมต้องมีความคาดหวังที่จะได้รับบรรยากาศองค์การที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ลักษณะนิสัยของตนเองและทุก ๆ คนย่อมมีความคาดหวังว่าจะทำงานในองค์การไปได้อย่างถาวรหรือระยะเวลานาน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าการสร้างบรรยากาศขององค์การถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารของหน่วยงานต้องให้ความสำคัญและพิจารณาเป็นอันดับแรกเนื่องจากบรรยากาศองค์การเป็นตัวแปรหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์การให้ไปเป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัตถุประสงค์ขององค์การรวมถึงมีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของบุคลากรในองค์การไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การให้ความร่วมมือ การยอมรับวัฒนธรรมองค์การ หากบรรยากาศองค์การไปในแนวทางที่ตรงตามความคาดหวังของบุคลากรก็มีแนวโน้มที่บุคลากรในองค์การจะสามารถปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางที่องค์การกำหนด มีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์การ แต่ในทางตรงกันข้าม หากบรรยากาศองค์การไม่เป็นไปตามที่บุคลากรคาดหวัง ก็มีแนวโน้มที่บุคลากรในองค์การจะปฏิบัติงานไม่เป็นไปในทิศทางที่องค์การกำหนด ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่บรรลุเป้าหมายขององค์การ ดังนั้นผู้บริหารองค์การควรให้ความสำคัญ ใส่ใจ รับฟังเสียง รับฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของบุคลากรในองค์การ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลในองค์การและปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรเพื่อที่จะสามารถบริหารองค์การได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ
References
นันทิยา บุญยปรารภชัยและประพล เปรมทองสุข. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 147-162.
ธิดารัตน์ อินทรเสนี, ละมุล รอดขวัญ และ มังกรแก้ว ดรุณศิลป์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 353-370.
มินท์ธิตา แดงสุริศรีโสภาศ ภิรดา ชัยรัตน์และศรีรัฐ โกวงศ์. (2565) บรรยากาศองค์การและพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Journal of Administrative and Management Innovation, 10(3), 73-79.
ขวัญธิดา พิมพการ กฤษดา ทองทับ วรรณา จาปาทิพย์. (2564). การศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทางานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 171-183.
ธนัทพงษ์ วังทะพันธ์.(2564) บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นภัทร ธัญญวณิชกุล ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล ทิวัตถ์ มณีโชติ .(2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 233-244.
เศรษฐา อ้นอารี, ทิฆัมพร พันลึกเดช, พุฒิธร จิรายุส, ศุภชัย วาสนานนท์, และดลฤดี วาสนานนท์. (2564) ปัจจัยความคาดหวังส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 281-292.
พีระ แก้วสะอาด. (2564) อิทธิพลของบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บมจ. ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่. [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงแรงงาน. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life). https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life).
สุพรรณี พิกุลทอง. (2559). ความคาดหวังต่อบรรยากาศองค์การของบุคลากรสานักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พสิษฐ์ ศรีสุจริต. (2558). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองศ์การและประสิทธิภาพในการทำงาน กรณีศึกษาสำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์ุพืช). [การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พสุ เดชะรินทร์ (2554,22 มีนาคม). บรรยากาศในองค์กร. จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia) เสาหลักของแผ่นดิน. http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3 บรรยากาศในองค์กร.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). มนตรี.
Brown, Warren B., and Moberg, Denis J. (1980). Organizational Theory and. Management : A Macro Approach. John Wiley & Sons.
Litwin, G.H. & Stringer, R.A. Jr. (1968). Motivation and organizational climate. Boston Division of Research, Graduate School of Business Administration, Harvard Business School, Boston.
Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4(7), 20-23.
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. Wiley, New York.
Hay Group Research. (2005). Climate Improvement Accreditation. http://www.hayresourcesdirect.Haygroup.com.
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). The measurement of organizational commitment. Journal of Vocational Behavior, 14(2), 224-247.
Steers, R. M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. McGraw - Hill.
Stringer, R. A. (2002). Leadership and Organizational Climate: The Cloud Chamber Effect. Prentice - Hall.
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. Wiley.