การศึกษาความรู้ต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร สุทธิศันสนีย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บัวทอง สว่างโสภากุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรินทร์ นิยมางกูร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรู้ต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, การเห็นคุณค่าในตนเอง, ทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์

บทคัดย่อ

         ปัญหาที่เกิดจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์สามารถสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีผลต่อการแสดงออกพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับทัศนคติต่อเรื่องดังกล่าวระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล รวมถึงการหาความสัมพันธ์ของทัศนคติกับระดับความรู้ต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 340 คน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา,t-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมัธยมศึกษามีความรู้ต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์อยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลพบว่านักเรียนที่มีระดับการศึกษา สภาพสมรสบิดามารดา ลักษณะการอยู่อาศัยแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของปัจจัยด้านเพศ เกรดเฉลี่ย จำนวนพี่น้อง รายได้ครอบครัวต่อเดือน และจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่าทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความรู้ต่อเรื่องดังกล่าวแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง

References

ชาญวิทย์ พรนภดล (2560). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับชั้น ม.1-3. สืบค้น 18 มิถุนายน 2562, จาก , http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061934.

ณัฐพล แจ้งอักษร (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(97). 22-32.

ณัฐฐา วินิจนัยภาค (2560). ทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก https://nidapoll.nida.ac.th/data/survey/uploads/FILE-1603871940213.pdf.

นัทธมน ทับทิมไทย, อิเสกสรรค์ ทองคำบรรจง, และ สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ (2563). อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.8(1). 206-14.

ดนุชา สลีวงศ์ ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ และกานต์ ทองทวี (2561). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(98). 133-149.

ทัณฑิมา ระเบียบดี (2537). การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2520). ทัศนคติ: การจัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนามัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พิมพ์พลอย รุ่งแสง (2561). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกข่มเหงรังแกทางโลกไซเบอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษ์พล สุระขันธ์ และศศิธร ปรีชาวุฒิเดช (2562). รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36(100). 187-198.

ธันยากร ตุดเกื้อ, เกษตรชัย และทีม, และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 11(1). 91-106.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, ศิวพร ปกป้อง, นันทนัช สงศิริ, และปองกมล สุรัตน์ (2552). พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย, ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

Allport, G. (1975). The Nature of Personality: Selected Papers. Cited October 25,2020, from http://www.oknation.net/blog/choopong/2009.

Bandura, A. (1969). Social learning of moral judgments. Journal of personality and social Psychology, 11(3). 275.

Coopersmith, S. (1981). Self-esteem inventories. Consulting Psychologists Press.

Craske, M. G. (2010). “Cognitive–behavioral therapy.” American Psychological Association.

Gender. (2020). Educate a Child (Online). https://educateachild.org/explore/barriers-to-education/gender,October 25,2009.

Jacobvitz, D. B. and Bush, N. F. 1996. Reconstructions of family relationships: Parent–child alliances, personal distress, and self-esteem. Developmental Psychology ,32(4), 732.

Lindenfield, G. (1995). The power of personal development. Management Development Review, 8(1).28-31.

Klausmeier, H. J. (1985). Developing and Institutionalizing a Self-improvement Capability: Sructures and Strategies of Secondary Schools. University Press of America.

Krauss, R.M. and Fussell, S.R., (1996). Social psychological models of interpersonal communication. Social psychology: Handbook of basic principles.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12