การพัฒนาแบบวัดและประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ

ผู้แต่ง

  • พรภัทร จตุพร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุวิมล ว่องวาณิช คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การคิดออกแบบ, ครูนักคิดออกแบบ, คุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ, การประเมินความต้องการจำเป็นเครื่องมือวัด

บทคัดย่อ

            แนวคิดการพัฒนาครูที่สำคัญในยุคดิจิทัลคือการพัฒนาครูให้มีคุณลักษณะเป็น “ครูนักคิดออกแบบ” เพื่อใช้ความคิดออกแบบในการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ และประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ วิธีวิจัยใช้การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาองค์ประกอบและเครื่องมือ และใช้การวิจัยเชิงบรรยายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูโดยการสำรวจครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ กรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ สมรรถนะด้านการคิดออกแบบ และการยอมรับที่จะทำงานโดยใช้แนวคิดการคิดออกแบบ ผลการพัฒนาเครื่องมือพบว่าเครื่องมือมีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในขององค์ประกอบสามด้านอยู่ระหว่าง .817 - .940 มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และมีความตรงตามสภาพ ตรวจสอบโดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด สำหรับการประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยพิจารณาจากค่าดัชนี PNImodified พบว่า ครูมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบทุกด้าน

References

ภัทราวดี มากมี. (2563). การพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวัดผลการศึกษา. 102. 138-147.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรรัตน์ ท้วมรุ่งโรจน์. (2560). ข้อพึงระวังในการใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากแหล่งเดียวในบริบทของประเทศเอเชียตะวันออก. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ.6(2). 11-23.

อรุณศรี เทวโรทร. (2562).ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. วารสารวัดผลการศึกษา. 100. 48-61.

Bagozzi, R. P., Wong, N., & Yi, Y. (1999). The role of culture and gender in the relationship between positive and negative affect. Cognition & Emotion, 13(6), 641-672.

Brenner, W., Uebernickel, F., & Abrell, T. (2016). Design thinking as mindset, process, and toolbox. In W. Brenner, & F. Uebernickel (Eds.). Design Thinking for Innovation. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-319-26100-3_1

Dosi, C., Rosati, F., & Vignoli, M. (2018). Measuring design thinking mindset. International design conference-design2018, Italy, 1991-2002.

Griffin, P., & Care, E. (Eds.). (2015). Assessment and teaching of 21st century skills: Methods and approach. Springer.

Henriksen,D., Richardson, C., & Mehta, R. (2017). Design thinking: A creative approach to educational problems of practice. Thinking Skills and Creativity 26, 140-153.

Karwowski, M., Han, M. H., & Beghetto, R. A. (2019). Toward dynamizing the measurement of creative confidence beliefs. Psychology of Aesthetics, Creativity, and the Arts, 13(2), 193–202.

Kelley, T., & Kelley, D. (2013). Creative confidence: Unleashing the creative potential within us all. New York: Drown Business.

Lor, R. (2017). Design thinking in education: A critical review of literature.

Nakata, C., & Hwang, J. (2020). Design thinking for Innovation: Composition, consequence, and contingency. Journal of Business Research, 118, 117-128.

Razzouk, R., & Shute, V. (2012). What is design thinking and why is it important?. Review of educational research, 82(3), 330-348.

Retna, K. S. (2016). Thinking about “design thinking”: a study of teacher experiences. Asia Pacific Journal of Education, 36(1), 5-19.

Watson, A. D. (2015). Design thinking for life. Art Education, 68(3), 12-18.

Wesselink, J. M. (2019). Simplifying and pre-testing the Dweck Mindset Instrument and Self-Efficacy Formative Questionnaire among VMBO students: Using the Three-Step Test-Interview (TSTI) (Bachelor's thesis, University of Twente).

Wyrwicka, M. K., & Chuda, A. (2019). The diagnosis of organizational culture as a change's factor in the context application of design thinking. LogForum, 15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12