การประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
ทักษะการทำงานที่หลากหลาย, การประเมินความต้องการจำเป็น, นักศึกษาครูบทคัดย่อ
ทักษะการทำงานที่หลากหลายเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในการทำงาน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะงานที่หลากหลายและทักษะการทำงานที่หลากหลายของครูในยุคดิจิทัล และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาครูชั้นปี 5 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เคยผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมาแล้ว 1 ภาคการศึกษา จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาครู ประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครู จำนวน 23 ข้อ เป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น (priority needs index: PNI)ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาในด้านทักษะการบริหารจัดการเวลามากที่สุด รองลงมาคือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางสังคมมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาน้อยที่สุด
References
กมลวรรณ ตั้งเจริญบำรุงสุข. (2545). การศึกษาความต้องการในการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกสอน สถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ สิริวัฒน์โสภณ. (2559). ผลการเตรียมความพร้อมครูที่มีต่อชีวิตการทำงานครูในยุคดิจิทัลและผลที่ตามมา (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สมเกียรติประยูร. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวัดผลการศึกษา. 36(100). 62-77
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวัดผลการศึกษา. 37(102). 28-42.
รัชนีวรรณ เทียนทอง. (2557). การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนไทยกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Adler, R. F., & Benbunan-Fich, R. (2015). The effects of task difficulty and multitasking on performance. Interacting with Computers, 27(4), 430-439.
Brante, G. (2009). Multitasking and synchronous work: Complexities in teacher work. Teaching and Teacher Education, 25(3), 430–436.
Chang, I. H. (2012). The effect of principals' technological leadership on teachers' technological literacy and teaching effectiveness in Taiwanese elementary schools. Journal of Educational Technology & Society.15(2). 328-340.
Fernet, C., Senécal, C., Guay, F., Marsh, H., & Dowson, M. (2008). The work tasks motivation scale for teachers. Journal of Career Assessment. 16(2). 256-279.
Kubheka, P. P. (2018). Analysing the preparedness of office management & technologygraduates for multitasking in the workplace(Doctoral dissertation). KwaZulu-Natal: Durban University of Technology.
Lee, Y. J. (2011). A study on the effect of teaching innovation on learning effectiveness with learning satisfaction as a mediator. World Transactions on Engineering and Technology Education, 9(2), 92-101.
Patel, G. S. (2019). Multi-tasking teacher of today: perspectives from indian higher education system. Journal of The Gujarat Research Society. 21(14). 1678-1683.
Tanchi, K. R. (2019). The soft skills in hiring decision for frontline employees of private commercial banks in Bangladesh. Daffodil International University Journal of Business and Entrepreneurship. 12(1). 80-92.
Thongnin, P., Wongwanich, S., & Piromsombat, C. (2014). Multi-task integration as astrategy for improving teacher performance and student learning. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 1919-1924.
Witkin, B. R., & Altschuld, J. W. (1995). Planning and conducting needs assessments: A practical guide. Sage.
Wu, M., Wang, C., Zhao, J. L., & Liang, L. (2017). Distraction or not? Investigating the relationship between mobile social network engagement and task performance. In 2017 International Conference on Research and Innovation in Information Systems (ICRIIS), 1-5.